สุนัขพันธุ์บางแก้ว

17677

สุนัขพันธุ์บางแก้ว เป็นสุนัขพันธุ์ไทยพันธุ์หนึ่งที่มีชื่อเสียง พันธุ์เด่น คือ สุนัขพันธุ์บางแก้ว (จังหวัดพิษณุโลก) มีลักษณะขนลำตัวสองชั้น ขนฟูอ่อนนุ่ม ขนหางเป็นพวง มีขนแผงรอบคอ มีขนที่ขาหน้าคล้ายขาสิงห์ มีลักษณะเฉลียวฉลาด ดุ ร่างกายแข็งแรง ฝึกหัดง่าย เชื่อฟัง และซื่อสัตย์ต่อเจ้าของดีมาก

ประวัติ
สุนัขพันธุ์บางแก้ว มีที่กำเนิดจากวัดบางแก้ว ต.ท่านางงาม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก เจ้าอาวาสวัดบางแก้วสมัยนั้น มีนามว่า หลวงพ่อมาก สุวัณณโชโต ที่เป็นผู้มีใจเมตตา และชอบเลี้ยงสัตว์ป่า และสุนัขบ้านไว้หลายชนิด ในปีหนึ่งช่วงปลายเดือนธันวาคม มีสุนัขตกลูกมา 3 ตัว เป็นตัวผู้ 1 ตัว และตัวเมีย 2 ตัว ซึ่งพบว่าลุกสุนัขมีลักษณะผิดไปจากสุนัขทั่วไป คือ มีลักษณะคล้ายสุนัขจิ้งจอก ขนสีเทา-ขาว ซึ่งสงสัยว่ามีการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างสุนัขบ้านกับพันธุ์สุนัขจิ้งจอกหรือสุนัขป่าที่อยู่รอบวัด ท่านจึงได้เลี้ยงดู และปล่อยให้ผสมพันธุ์กันเองจนเกิดเป็นสุนัขพันธุ์ใหม่ขึ้น มีลักษณะขนหางเป็นพวง ขนลำตัวสวยงาม (วิทยา หาญไพบูลย์, 2533)1

สุนัขบางแก้ว

ลักษณะทั่วไปสุนัขพันธุ์บางแก้ว
• ลักษณะกะโหลก : มีลักษณะออกรูปสามเหลี่ยม ขนาดใหญ่ หรือหัวโตกว่าสุนัขบ้านทั่วไป

• ลักษณะหู : สุนัขบางแก้วในระยะแรกจะมีใบหูใหญ่ ปลายหูกลมมน มีขนปกคลุมจนปิดรูหู ปัจจุบันพบใบหูเล็ก สั้น เป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ยื่นตรงไปข้างหน้า ปลายหูเบนไปด้านข้างเล็กน้อย โคนหูสองข้างห่างกันมากกว่าสุนัขทั่วไป ขอบใบหูเป็นสันเล็กๆ มีขนอ่อนภายในหู กกหูด้านนอกมีขนปุยปกคลุม

• ลักษณะปาก : ปากมีลักษณะแหลม เรียว มองด้านหน้าจากส่วนกะโหลกถึงปากจะแคบ คล้ายรูปสามเหลี่ยม

• ลักษณะตา : ตาเป็นรูปสามเหลี่ยม คล้ายตาเสือ แววตาเซื่องซึม แต่เวลาเจอศัตรูหรือคนแปลกหน้าแววตาจะดุวาว

ลูกสุนัขบางแก้ว

• ลักษณะฟัน : ฟันแหลมคม โดยเฉพาะฟันเขี้ยว มีลักษณะเล็กแหลม แข็งแรง

• ลักษณะสีขน : พบหลายสี ได้แก่ สีด่างขาว-นํ้าตาล, สีด่างขาว-ดำ, สีนํ้าตาลแก่, สีขาวปลอด, สีดำ ปลอด และสีนาก และพบลักษณะจุดแต้มเล็กๆ ตามลำตัวที่เป็นสีอื่นจากสีหลักของลำตัว เช่น สีลำตัวหลักเป็นแดง-ขาว จุดแต้มจะมีสีนํ้าตาลแดง เป็นต้น

• ลักษณะขนตามลำตัว : ขนลำตัวมีสองชั้น ชั้นแรกมีลักษณะสั้น อ่อนนุ่ม และหนากว่าชั้นที่ 2 ส่วนขนชั้นที่ 2 เป็นขนเส้นยาว พบตั้งแต่ท้ายทอยผาดผ่านจนถึงโคนหาง มีลักษณะคล้ายอานม้า ขนบริเวณอกค่อนข้างหนา เป็นแผง และขนบริเวณสีข้างค่อนข้างยาว

• ลักษณะหาง : บริเวณโคนหางใหญ่ โค้งงอไปข้างหน้าในแนวกลางหลังหรือเบนออกข้างลำตัว ขนหางตั้งแต่โคนหางจรดปลายหางมีขนาดยาว ปุยกระจายเป็นพุ่มสวยงาม

• ลักษณะขาหลัง : ขาตั้งตรงขนานกัน ลาดเอนไปข้างหน้าเล็กน้อย บริเวณแก้มก้นด้านหลังเหนือต้นขาจะมีขนยาวปุกปุย เวลาเคลื่อนไหวแถบใต้โคนหางจะรับกับหางที่ปัดไปมา

• ลักษณะขาหน้า : มีลักษณะขนานกัน เหยียดตรงกว่าขาหลัง และค่อนข้างใหญ่ ยาวกว่าขาหลัง บริเวณตั้งแต่โคนขาหน้าด้านหลังจนถึงข้อนิ้วเท้าจะมีขนเส้นยาว ตั้งเอนลงด้านล่าง ปกคลุมยาวเด่นบริเวณตรงกลาง ชาวบ้านนิยม เรียกเอกลักษณ์นีว่า “ขาสิงห์”

• ลักษณะนิ้วเท้า : นิ้วชิดติดกัน มีขนปกคลุมยาว เวลาเดินมักโหย่งเท้า

• ลักษณะใบหน้า : ใบหน้าทรงแหลม มีขนบริเวณแก้มพองออกคล้ายสิงห์โต แบ่งลักษณะใบหน้าเป็น 3 ชนิด คือ
1. หน้าเสือ รูปทรงกะโหลกใหญ่ หน้าผากกว้าง หูตั้งอยู่ห่างกัน หูเล็กกางออกเล็กน้อย
2. หน้าสิงห์โต รูปทรงกะโหลกเล็กกว่าหน้าเสือ หูรูปสามเหลี่ยม เอนไปข้างหน้ารับกับใบหน้า ปากเรียวสั้นกว่าหน้าจิ้งจอก โคนหูปกคลุมด้วยขนยาวเป็นแผงจนถึงคอ รับกับขนยาวโดยรอบของคอ  มองด้านข้างคล้ายสิงห์โต
3. หน้าจิ้งจอก ทรงหน้าแหลมกว่าสองชนิดข้างต้น และมีใบหูใหญ่กว่า ใบหูเอนออกด้านข้าง เป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ปากแหลมเรียว ค่อนข้างยาว คล้ายสุนัขจิ้งจอก ซึ่งถือกันว่าเป็นชนิดที่มีสายเลือดของสุนัขจิ้งจอกหรือสุนัขป่ามากที่สุด

• ลักษณะท้อง : ลักษณะท้องทรงกลม หนาตลอดแนว ไม่กิ่วคอดเหมือนสุนัขทั่วไป

• ลักษณะหลัง : ลักษณะหลังค่อนข้างแบนเรียบ เป็นแนวตรง ขนหนา แบนเรียบปกลงตามลำตัว

• ลักษณะลำคอ : ลักษณะคอค่อนข้างใหญ่ หนา และแข็งแรงมาก

มาตรฐานสุนัขพันธุ์บางแก้ว (ชมรมผู้อนุรักษ์ และพัฒนาสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว จ.พิษณุโลก แห่งประเทศไทย)
1. หู : เป็นรูปสามเหลี่ยม มีขนาดเล็ก ตั้งป้องไปข้างหน้า มีขนอ่อนที่กกหู และในหู
2. ตา : ตามีขนาดเล็ก เป็นรูปสามเหลี่ยม
3. จมูก : ปลายจมูกขนาดเล็ก ได้สัดส่วนกับปาก
4. ฟัน : ฟันมีขนาดเล็ก แหลมคม ฟันหน้าบนและล่างขบกันสนิท
5. ปาก : รูปทรงปากแหลม และแหลมกว่าสุนัขไทยทั่วไป ได้สัดส่วน
6. ขาหน้า : ใหญ่กว่าขาหลัง เวลายืนเหยียดตรงจะขนานกัน หลังขามีขนยาวลักษณะเหมือนแข้งสิงห์ ข้อเท้าสั้นแอ่นเล็กน้อย
7. เท้า : อุง้ เท้ากลมคล้ายอุ้งเท้าแมว เล็บเท้าสั้น มีขนยาวคลุมนิ้วเท้าและโคนเล็บ
8. รูปร่างลำตัว : หนา ลํ่าสัน เวลายืนขาเหยียดตรงตั้งได้ฉากกับพื้น คอยก หน้าตั้งหางชูอยู่บนหลัง
9. ศรีษะ : ค่อนข้างใหญ่ได้สัดส่วนกับลำตัว
10. คอ : ใหญ่ ลํ่าสัน รับกะโหลกหัวและช่วงไหล่ มีขนแผงคอยาว และมีขนรอบคอ
11. เส้นหลัง : ตรง
12. ความสูง : ตัวผู้ 48-53 ซม. (19-21 นิ้ว) ตัวเมีย 43-48 ซม. (17-19 นิ้ว)
13. ขน : ขนยาวมี 2 ชั้น ชั้นในลักษณะอ่อนนุ่ม ชั้นนอกเส้นใหญ่และยาว ปกคลุมบริเวณแผ่นหลัง
14. ถิ่นกำเนิด : บ้านบางแก้ว ต.ท่านางงาม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก
15. หาง : โคนหางใหญ่ หางตั้งเป็นพวง
16. สะโพก : ส่วนหลังปกคลุมด้วยขนยาวตลอดแนวลงมาจนถึงข้อขาหลังท่อนบน
17. ขาหลัง : เล็กกว่าขาหน้า เวลายืนเหยียดตรงและขนานกัน
18. นํ้าหนัก : ตัวผู้ 19-25 กก. ตัวเมีย 18-23 กก.
19. สี : มีหลายสี เช่น ด่างขาว-ดำ, ขาว-นํ้าตาล, ขาว-เทา, ขาว-นาก และสีด่างของสีผสมหลายสี ลายประ และสีปลอดด่างอาจมีประด้วย

สุนัขบางแก้ว1

ที่มา : เฉลิม เนตรศิริ (ม.ป.ป.)2, พรรณี อำนวยสิทธิ์ และคณะ (2535)3

เอกสารอ้างอิง
Untitled