ปลาหมึก (Cuttlefish,Octopus)

22136

ปลาหมึก (Cuttlefish, Octopus) เป็นสัตว์ทะเลที่มีลำตัวนิ่ม ไม่มีกระดูกสันหลัง มีเปลือกลักษณะแบนอยู่กลางลำตัวเพื่อให้คงรูปร่างได้ (บางชนิดไม่มีเปลือก) มีระยางค์หรือที่เรียกทั่วไปว่าหนวด รอบปาก 8-10 เส้น ปาก เป็นปากดูดที่มีปุ่มดูด (sucker) ช่วยในการจับ และยึดเกาะ

ปลาหมึกจัดอยู่ในไฟลัม Mollusca คลาส Cephalopoda ที่เป็นคลาสที่มีพัฒนาการสูงสุดในไฟลัมนี้ แบ่งย่อยได้ 2 คลาส คือ
1. ซับคลาส Nautiloidea หรือ Tetrabranchina มีลักษณะประจำซับคลาส คือ มีระยางค์รอบปาก 10 เส้น มีเหงือก 2 คู่ ไม่มีกระจกตา
2. ซับคลาส Coleoidea หรือ Dibranchina มีลักษณะประจำซับคลาส คือ มีระยางค์รอบปาก 8-10 เส้น มีเหงือก 1 คู่ มีกระจกตา มีเปลือกอยู่ภายในลำตัว แต่บางชนิดไม่มีเปลือก

ชนิดปลาหมึกตามลักษณะรูปร่าง
1. ปลาหมึกกล้วย (squid)
ปลาหมึกกล้วยมีลักษณะลำตัวค่อนข้างยาว มีครีบค่อนไปด้านท้ายลำตัว มีระยางค์ล้อมรอบปาก ประกอบด้วยระยางค์สั้นที่เป็นแขน 4 คู่ มีปุ่มดูดที่ประกอบด้วย chitinouse ring ซึ่งจะพบบนแขนจำนวน 2-4 แถว แต่บางชนิดอาจพบมีตะขอ (hook) มีระยางค์ยาวที่เรียกว่า หนวด (tentacle) 1 คู่ บนหนวดมีปุ่มดูด 2 แถว หรือมากกว่า

ปลาหมึกกล้วย

หมึกกล้วยแห้ง

2. ปลาหมึกกระดอง (cuttlefish)
ปลาหมึกกระดอง เป็นปลาหมึกที่มีลักษณะแบนกว้าง คล้ายถุง มีกระดองสีขาวขุ่น มีครีบด้านข้าง หากมีครีบตลอดลำตัวจัดเป็น sepiidae หากมีครีบสั้นกลม จัดเป็น sepiolidae ปลาหมึกกระดองมีระยางค์เหมือนปลาหมึกกล้วย มีแขน 4 คู่ หนวด 1 คู่ แต่ไม่มีตะขอ

ปลาหมึกกระดอง

3. ปลาหมึกสาย (octopus)
ปลาหมึกสาย มีลักษณะลำตัวกลม คล้ายถุง ไม่มีครีบ มีระยางค์รอบปาก 4 คู่  ปุ่มดูดไม่มี chitinouse ring เหมือนปลากหมึกกล้วย

ปลาหมึกสาย

4. หอยงวงช้าง (nautilus)
หอยงวงช้าง จัดเป็นปลาหมึกชนิดหนึ่งที่มีเปลือกอยู่นอกลำตัว มีระยางค์มากกว่า 10 เส้น

ถุงน้ำหมึก (ink sac)
ถุงน้ำหมึกเป็นอวัยวะเฉพาะที่พบในปลาหมึกเกือบทุกชนิด ยกเว้นปลาหมึกชนิด nautilus, finned octopus และปลาหมึกชนิดที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรที่มีความลึกมากๆ น้ำหมึกของปลาหมึกจะมีสีน้ำตาลจนถึึงดำเข้ม ขึ้นอยู่กับชนิดของปลาหมึก การพ่นน้ำหมึกถือเป็นวิธีการขับไล่ศัตรูหรือเพื่ออำพรางตัวสำหรับหลบหนีศัตรู

ถุงน้ำหมึกนี้จะพบได้บริเวณช่องท้องตอนบนของลำไส้ ณ บริเวณด้านหลังของลำไส้ แต่ปลาหมึกปลาชนิดจะมีถุงน้ำหมึกฝังอยู่ในเนื้อเยื่อภายในตับ ภายในถุงน้ำหมึกบริเวณผนังถุงน้ำหมึกจะพบเซลล์ต่อมน้ำหมึกจำนวนมาก เซลล์เหล่านี้ทำหน้าที่ผลิตน้ำหมึกเก็บสะสมไว้ในถุงน้ำหมึก ส่วนน้ำหมึกที่พร้อมสำหรับพ่นออกทางทวารหนักจะอยู่บริเวณปลายท่อถุงน้ำหมึกใกล้กับบริเวณปาก

บริเวณปากของหมึกจะประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่สามารถบีบตัวได้จำนวน 1 คู่ (sphincter) ขณะที่หมึกพ่นน้ำหมึกออกจากทวารหนัก อวัยวะ sphincter จะบีบรัดน้ำหมึกเข้าสู่ลำไส้ และพ่นออกมาผ่านทางช่องทวารหนัก น้ำหมึกเป็นสารชีวโมเลกุลที่ประกอบด้วยเม็ดสีเมลานิน (malanin) และไทโรซีน (tyrosine) สำหรับปลาหมึกชนิด sepia จะมีเอนไซม์ที่สามารถเปลี่ยน ไทโรซีน (tyrosine) ไปเป็นเมลานิน (malanin)ได้ กระบวนการเปลี่ยนสารไทโรซีน (tyrosine) ไปเป็นเมลานิน (malanin) จะทำให้เกิดสาร 5,6-indolquinone ผสมอยู่ในน้ำหมึก

สารนี้สามารถออกฤทธิ์ทำให้ประสาทรับสัมผัสกลิ่นของศัตรูชาไปได้ชั่วขณะ และมีฤทธิ์ทำให้ตาของศัตรูเกิดการระคายเคืองด้วย ถือเป็นสารที่มีประโยชน์ของปลาหมึกสำหรับการไล่ การอำพราง และการหลบหนีศัตรูของปลาหมึก น้ำหมึกของปลากหมึกจัดเป็นสารย้อมผ้าที่มีความคงทนต่อกาล้างออกมาก หากมีการเปื้อนผ้าหรือไม้จะล้างออกได้ยาก ซึ่งในอดีตมีการนำน้ำหมึกมาใช้ประโยชน์เป็นสีวาดภาพ

การแพร่กระจาย
ปลาหมึกในอ่าวไทย และทะเลอันดามัน ปลาหมึกที่มีการจับในทะเลของอ่าวไทย และทะเลอันดามันทางฝั่งพม่า ได้แก่ ปลาหมึกกล้วย ปลาหมึกกระดอง และปลาหมึกสาย ซึ่งปริมาณการจับของปลาหมึกกล้วย และปลาหมึกกระดองมีปริมาณใกล้เคียงกัน ส่วนปลาหมึกสายพบปริมาณการจับน้อยที่สุด
1. ปลาหมึกกล้วย (squid) เป็นปลาหมึกที่อาศัยอยู่ทุกระดับน้ำ แต่พบบางช่วงชีวิตที่อาศัยอยู่ในระดับน้ำหน้าดิน ชนิดปลาหมึกกล้วยที่มีการจับมาก ได้แก่
– Loligo chinesis เรียก ปลาหมึกศอกหรือปลาหมึกกล้วย
– Loligo duvauceli เรียก ปลาหมึกกล้วยหรือปลาหมึกจิ๊กโก๋
– Loligolus sumatrensis เรียก ปลาหมึกกระตอย
– Sepioteu lessoniana เรียก ปลาหมึกหอมหรือปลาหมึกตะเภา

2. ปลาหมึกกระดอง (cuttlefish) เป็นปลาหมึกที่มีกระดองสีขาวขุ่น นิยมนำมาเป็นส่วนผสมของยาแผนโบราณ และทำเป็นอาหารสัตว์ รวมถึงการสกัดเอาสารไคติน ปลาหมึกชนิดนี้มักลอยตัวอยู่กับที่ เคลื่อนไหวช้า แต่มีลักษณะการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ชนิดปลาหมึกกระดองที่มีการจับมาก ได้แก่
– Sepia pharaonis เรียก ปลาหมึกกระดองลายเสือ
– Sepia aculeata เรียก ปลาหมึกกระดอง Needle cuttlefish
– Sepia lycidas เรียก ปลาหมึกกระดอง Kisslip cuttlefish
– Sepia recurvirostra เรียก ปลาหมึกกระดอง Curvesprie cuttlefish
– Sepia brevimana เรียก ปลาหมึกกระดอง Shortclub cuttlefish
– Sepia inermis เรียก ปลาหมึกกระดองก้นไหม้ Spineless cuttlefish

3. ปลาหมึกสาย (octopus) เป็นปลาหมึกชนิดที่ไม่มีกระดอง พบได้ในน้ำตื้นชายฝั่งจนถึงน้ำลึกปานกลาง มีการเคลื่อนไหวช้า เคลื่อนไหวตามพื้นทะเล ชนิดที่จับกันมาก ได้แก่
– Octopus membranaceus
– Octopus dollfusi
– Octopus aegina
– Octopus indicus
– Hepalochlaena maculosa

การเคลื่อนไหวของปลากหมึกจะใช้วิธีการพ่นน้ำออกจากปาก เพื่อให้แรงดันน้ำดันลำตัวให้เคลื่อนไหวไปในทิศทางที่ตรงข้ามกับปาก