ปลาหางนกยูง และการเลี้ยงปลาหางนกยูง

19367

ปลาหางนกยูง (guppy) เป็นปลาสวยงามที่นิยมเลี้ยงมากชนิดหนึ่ง เนื่องจากมีลำตัวขนาดเล็ก มีสีลำตัวหลากหลาย และสวยงาม ออกลูกดก เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย และทนต่อสภาพน้ำที่มีออกซิเจนต่ำ ปัจจุบันนิยมเลี้ยงทั้งในประเทศ และส่งออกจำหน่ายต่างประเทศสร้างรายได้หลายร้อยล้านบาทต่อปี

ปลาหางนก ยูง มีชื่อวิทยาศาสตร์ Poecilia reticulata  ชื่อสามัญ guppy ส่วนคนจีนเรียก ขงเชี้ยะฮื้อ มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ในแถบเวเนซูเอล่า ไกยาน่า หมู่เกาะคาริเบียนของประเทศบาร์บาโดส และในกลุ่มแถบลุ่มน้ำอเมซอน ในธรรมชาติชอบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืด และน้ำกร่อยที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งจนน้ำไหลเอื่อยๆ

อนุกรมวิธาน (Dawes, 1995)(1)
Phylum : Chordata
Subphylum : Vetebrata
Class : Actinoterygii
Subclass : Neopterygii
Order : Cyprinodontiformes
Family : Poeciliidae
Genus : Poecilia
Species : Poecilia reticulata Peters.

ประวัติปลาหางนกยูง
ปลาหางนกยูง เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก เป็นที่รู้จักกันในนาม guppy หรือ millions fish ถูกพบครั้งแรกในปี 1859 ที่เมือง Rio Guaire  และ Carascus ประเทศเวเนซูเอล่า โดย William C.H. peters และให้ชื่อว่า Poecilia reticulata (reticulata หมายถึง สีสันที่เกิดจากการซ้อนทับของเกล็ด) ในปี ค.ศ. 1861 ได้ตั้งชื่อขึ้นอีกเป็น Labistes poeciloides โดย Filippi จากตัวอย่างปลาที่ได้มาจากประเทศบาร์บาโดส ซึ่งตอนนั้นไม่มีการเปรียบเทียบกับปลาที่ตั้งชื่อจาก William C.H. peters

ต่อ มา Robert John lechmere Guppy นักธรรมชาติวิทยาจากประเทศตรินิแดด ซึ่งได้ส่งตัวอย่างปลาไปให้ Dr. Albert Gunther ที่ British Museum ในกรุงลอนดอน และได้ถูกเปลี่ยนชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ตัวเขาในชื่อ Giradinus guppyi หรือเรียกสั้นในชื่อสามัญว่า guppy จนใช้มาถึงปัจจุบัน

ต่อมาได้มีการรวบรวมข้อมูลปลาหางนกยูงที่พบในแต่ละแห่ง และมีการจัดกลุ่มใหม่ พร้อมเปลี่ยนชื่อวิทยาศาสตร์เป็น Labistes reticulata และถูกใช้จนกระทั่งปี 1963 ต่อมา Rose และ Bailey เสนอให้กลับไปใช้ชื่อเดิมครั้งแรกคือ Poecilia reticulata ที่ได้จากการพิจารณาความสัมพันธ์ของปลาหางนกยูงกับปลาในกลุ่ม Poeciliidae ทำให้ปลาหางนกยูงถูกจัดอยู่ในกลุ่มดังกล่าว ซึ่งปลาในกลุ่ม Poeciliid จะมีลักษณะเด่น คือ มีการปฏิสนธิภายใน ออกลูกเป็นตัว และตัวผู้จะมีอวัยวะช่วยในการสืบพันธุ์ที่เรียกว่า gonopodium และการจัดกลุ่มดังกล่าวมีการใช้กันอย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน

ในประเทศไทย การเพาะเลี้ยงปลาหางนกยูงที่เริ่มเป็นที่นิยมมากตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2510 เมื่อพ่อค้าสนามหลวงได้นำปลาหางนกยูงชนิดใหม่ มีลักษณะแปลกตา คือ หางบานเล็กน้อย มีสีหางและลำตัวออกสีส้มอมชมพูมาใส่ตู้ขายในตลาดนัดสนามหลวง ขณะนั้น นิยมเรียกชื่อว่า ปลาหางนกยูงฮ่องกง มีราคาตัวละ 5 บาท ระยะต่อมาได้มีการนำปลาหางนกยูงสายพันธุ์ใหม่อีกชนิดหนึ่งมาจำหน่าย คือ ปลาหางนกยูงเยอรมัน ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับพันธุ์แดงทักซิโด้ (Red tuxedo) ในปัจจุบัน ในระยะแรกมีราคาประมาณตัวละ 40-50 บาท

เพิ่มเติมจาก : สุไหลหมาน, 2555(2), จี้เส็ง, 2542(2)

ลักษณะทั่วไป
ปลาหางนกยูง เป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว (livebearing fish) ที่เจริญมาจากไข่หลังการปฏิสนธิกับน้ำเชื้อ เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก ปลาเพศผู้มีขนาด 3-5 เซนติเมตร ปลาเพศเมียมีขนาด 5-7 เซนติเมตร ปลาในธรรมชาติ เพศเมียมีสีเทา เทาอมน้ำตาล น้ำตาลอ่อน หรือสีเขียวอมน้ำตาล บริเวณท้องสีขาวอมเทาครีบต่างๆ ไม่มีสี ส่วนปลาเพศผู้ จะมีจุดสีเขียว เหลือง แดง น้ำเงินหรือดำปรากฏอยู่บริเวณคอดหาง และมีครีบหางกลม

ปลาหางนกยูงมีความแตกต่างกันในแต่ละสายพันธุ์ ส่วนใหญ่จะแตกต่างกันที่ปลายหาง ครีบ และสี ได้แก่ ชนิดหางกลมมนคล้ายพัด หรือชนิดหางเข็มหรือหางแฉกคล้ายดาบ

การแยกเพศ
– ปลาเพศเมีย มีจุดสีดำ (Gravid spot) บริเวณรูเปิดช่องท้องด้านล่าง
– ปลาเพศผู้ มีลำตัวเรียวยาวกว่าเพศเมีย

การตั้งชื่อสายพันธุ์ขึ้นกับสี ลวดลาย และปลายหาง เช่น
– Golden cobra lacetail ลำตัวมีลวดลายคล้ายงู โดดเด่นด้วยสีเหลืองทอง และปลายหางแหลมคล้ายปลายใบโพธิ์
– Red lower swordtail ลำตัว และหางโดดเด่นด้วยสีแดง หางขาดเว่งเป็นริ้ว ครึ่งลำตัวช่วงล่างมีสีน้ำเงินเข้ม ส่วนหางมีสีแดง

ปลา หางนกยูงที่เลี้ยงมากที่สุด คือสายพันธุ์ Sword tail ลักษณะลำตัวมีจุดหรือลวดลาย ลำตัวมีหลายสี อาทิ สีเหลือง เทา ฟ้า เขียว แดง ชมพู ผสมกันตั้งแต่สองสีขึ้นไป ครีบหางเป็นแฉก

รูปแบบครีบหางปลาหางนกยูง (กรมประมง, 2550)(5)
1. Spade tail หางคล้ายเสียมหรือจอบ
– Round spade ครีบหางมีลักษณะกลมสั้น ปลายครีบหางมน ส่วนครีบหลังมีทั้งรูปเรียวแหลมหรือกลม
– Pointed spade ครีบหางมีลักษณะกลมกลมยาว โดยเฉพาะตรงกลางครีบ ปลายครีบหางเรียวแหลม คล้ายปลายปากกา
– Spear spade ครีบหางมีลักษณะคล้ายหอก แหลมยาว คล้ายแบบ Pointed spade แต่กว้างกว่า ครีบหลังสั้นกว่าครีบหางประมาณ 1 ใน 3

2. Sword tail ครีบหางยาว
– Double sword tail หางมีครีบคล้ายดาบ มีก้านครีบทั้งด้านบน และด้านล่าง
– Top sword tail ครีบหางยาวเฉพาะส่วนบน มีรูปทรงไข่
– Bottom sword tail ครีบหางมีรูปไข่ คล้ายแบบ Top sword tail แต่ก้านครีบส่วนล่างยาวคล้ายดาบ ครีบหลังยาวมากกว่าครีบหาง
– Lyre tail ครีบหางมีลักษณะคล้ายพิณ ปลายครีบหางเว้าลึก ความยาวครีบหางเกือบยาวเท่ากับความยาวลำตัว ประมาณ 4 ใน 5 ส่วน ครีบหลังสั้นกว่าครีบหางประมาณ 1 ใน 3
– V tail ครีบหางเป็นรูปทรงตัววี (V) ขอบครีบหางโค้งลงด้านล่าง

3. Wide tail หางกว้าง และใหญ่
– Delta tail หรือ Triangle tail ครีบหางเป็นแบบรูปสามเหลี่ยม
– Ribbon tail ครีบหางยาวมาก ครีบไม่แผ่กว้าง
– Veil tail ครีบหางยาวมาก เป็นพวงห้อย ปลายหางแผ่กว้าง

การผสมพันธุ์
ปลาเพศเมียสามารถถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่อมีอายุ 3-5 เดือน หลังจากผสมพันธุ์แล้วไข่จะเจริญในรังไข่จนถึงประมาณ 6-8 สัปดาห์ ก็จะฟักเป็นตัว เนื่องจากน้ำเชื้อตัวผู้ที่ฉีดเข้าผสมกับไข่สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานในท่อนำไข่จึงทำให้น้ำเชื้อที่ค้างอยู่สามารถผสมกับไข่ได้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับ จากตัวผู้อีก จึงทำให้ปลาหางนกยูงออกลูกได้หลายครั้งจากผสมพันธุ์เพียงครั้งเดียว

ลูกปลาหางนกยูงในระยะ 3 เดือนแรกจะแยกเพศได้ยาก แต่จะแยกเพศได้ดีเมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ โดยตัวเมียจะถึงวัยเจริญพันธุ์ก่อนตัวผู้

ชนิดปลาหางนกยูง
1. Wild guppies เป็นปลาหางนกยูงที่พบในแหล่งน้ำธรรมชาติ มักมีสีลำตัวคล้ำ ครีบหลัง และครีบหางสั้น สีไม่สวยงาม และไม่โดดเด่นเหมือนประเภทที่มีการปรับปรุงพันธุ์ โดยปลาเพศผู้ และเพศเมียมีลักษณะไม่แตกต่างกันมาก

2. Fancy guppies เป็นปลาหางนกยูงที่ปรับปรุงพันธุ์มาจากปลาประเภท Wild guppies จนได้ลักษณะสีสัน และลวดลายสวยงาม มีครีบ และหางยาว โดยเฉพาะปลาเพศผู้ที่มีลักษณะครีบใหญ่ยาว สีสวยงามมากกว่าปลาเพศเมียมาก

พันธุ์ที่นิยมเลี้ยง
1. คอบร้า (Cobra)
• พันธุ์ย่อย
– Yellow cobra/King cobra มีลักษณะเด่นที่ลำตัว และครีบหางสีเหลือง
– Red cobra มีลักษณะเด่นที่ลำตัว และครีบหางสีแดง
– Multicolour มีหลายสีผสมกัน
– ฯลฯ

• ลักษณะลำตัว
– สีน้ำเงิน สีเหลือง สีม่วง สีแดง หรืออื่นๆ ผสมกัน
– มีลวดลายเป็นแถบยาวหรือสั้น พาดบริเวณลำตัวในทิศขวางลำตัวหรือตามยาวหรือพาดเฉียง จากลำตัวหรือเริ่มจากจุดใดจุดหนึ่งของลำตัวจนถึงปลายหาง ทำให้มีลวดลายคล้ายงู

metal king cobra

• ลักษณะครีบ
– ครีบหางรูปสามเหลี่ยม (Delta tail) หรือรูปพัด
– สีครีบหางมีหลากหลายสีตามสีของลำตัว

2. ทักซิโด้ (Tuxedo )
• พันธุ์ย่อย
– Neon tuxedo มีลักษณะเด่นที่สันหลังสีขาวสะท้อนแสง
– Black tuxedo มีลักษณะเด่นที่ครีบหางสีดำ
– Golden tuxedo มีลักษณะเด่นที่ครีบหางสีส้มทอง
– ฯลฯ

• ลักษณะลำตัว
– ครึ่งตัวด้านท้ายมีสีดำ หรือน้ำเงินเข้ม ลำตัวครึ่งด้านหน้ามีหลายสี เช่น สีขาว สีแดง สีน้ำเงิน เป็นต้น

Tuxedo

• ลักษณะครีบ
– ครีบมีลักษณะเด่น คือ ครีบหลัง และครีบหางหนาใหญ่ มีสี และลวดลายสัมพันธ์กับลำตัว เช่น สีขาว สีแดง
– ครีบหางมีหลากหลายแบบ ไม่มีจุดแต้ม

3. โมเสค (Mosaic)
• พันธุ์ย่อย
– Red mosaic หรือ Redbutterfly หรือ ชิลี

• ลักษณะลำตัว
– ลำตัวมีหลายสี ค่อนข้างใส เช่น สีขาว สีแดง สีน้ำเงิน  ไม่มีจุดแต้มเป็นลาย ซึ่งแตกต่างกับพันธุ์ cobra ที่มีลายแต้มบนลำตัว

Mosaic

• ลักษณะครีบ
– ครีบหางมีหลากหลายแบบ มีจุดแต้มทั้งครีบหาง และครีบหลัง

4. กร๊าซ (Grass)
• พันธุ์ย่อย
– Grass tail มีลักษณะเด่นที่ครีบหางมีจุดแต้มคล้ายหญ้าแก้ว
– Grass tail albino มีลักษณะเด่นที่ครีบหางมีจุดแต้ม และเปลือกตาแดง

• ลักษณะลำตัว
– ลำตัวมีหลากสี ค่อนข้างใส ไม่มีจุดแต้ม

grass

• ลักษณะครีบ
– ครีบหาง และครีบหลังมีจุดแต้มขนาดเล็ก กระจายเป็นจุดคล้ายดอกหญ้า

5. นกยูงหางดาบ (Sword tail)
• พันธุ์ย่อย
– Double sword มีครีบหางรูปกรรไกร
– Top sword มีครีบหางส่วนบนคล้ายดาบ
– Bottom sword มีครีบหางส่วนล่างคล้ายดาบ

• ลักษณะลำตัว
– ลำตัวมีหลากหลายสี เช่น สีเทา ฟ้า เขียว เหลือง แดง ลำตัวโดยทั่วไปคล้ายพันธุ์พื้นเมือง อาจมีแตกต่างที่ครีบหาง และสีสัีนบนลำตัว

Sword tail

• ลักษณะครีบ
– ครีบหางเป็นแฉกโค้ง คล้ายปลายดาบ อาจโค้งในส่วนบน และส่วนล่างหรือด้านใดด้านหนึ่ง

ที่มา : กฤษณา และ ภีระ, 2545(4)

การเลี้ยงปลาหางนกยูง

การคัดเลือกพันธุ์ และพ่อแม่พันธุ์
ลักษณะที่ดีของปลาหางนกยูงที่ควรเลี้ยง
– ลักษณะลำตัวใหญ่ หนาสมส่วน รูปทรงปกติ ไม่คดงอ
– ลักษณะครีบหางใหญ่ แข็งแรง ครีบหางไม่ฉีกขาด ขณะว่ายน้ำพลิ้ว ครีบหางไม่พับ
– สี และลวดลาย ถูกต้องตามสายพันธุ์ คมเข้ม และชัดเจน

คัดพ่อแม่พันธุ์ตามที่กล่าวขึ้นต้น โดยควรเป็นปลาที่มีอายุประมาณ 4-6 เดือน นำมาปล่อยรวมกันในสัดส่วนเพศผู้ : เพศเมีย เท่ากับ 1 : 3 หรือ 1 : 4 จำนวนการปล่อย 100-15 ตัว/ลบ.เมตร อาหารที่ให้จะเป็นไรแดงในตอนเช้า และเย็น หรือให้อาหารสำเร็จรูปก็ได้

ปลาเพศเมียที่ผสมพันธุ์แล้วจะมีจุดสีดำบริเวณท้อง แม่ปลาหางนกยูง 1 ตัว ออกลูกปลาได้ประมาณ 30-80 ตัว และใช้เพาะพันธุ์ได้ 4-6 ครั้ง

การอนุบาลปลาวัยอ่อน
ลูกปลาหางนกยูงที่ออกมาใหม่จะยังไม่กินอาหาร เพราะอาศัยอาหารจากถุงไข่ แต่ประมาณหลัง 3 วัน ถุงไข่จะหมดไปจึงเริ่มหากินอาหารเอง ระยะนี้เพื่อให้ลูกปลามีชีวิตรอดมากที่สุดจำเป็นต้องหาแหล่งอาหารให้ เช่น โรติเฟอร์ อาร์ทิเมีย ไรแดง รวมถึงอาหารสำเร็จรูปสำหรับลูกปลาวัยอ่อน

ลูกปลาจะออก ประมาณ 25 – 30 วัน หลังจากแม่ปลาผสมพันธุ์แล้ว โดยให้คัดแยกพ่อแม่พันธุ์ออก ในระยะแรก (3-4 วันหลังออก) ให้ไรแดงเป็นอาหารในตอนเช้า และเย็นทุกวัน และหลังจาก 2 สัปดาห์ ให้อาหารสำเร็จรูป จนลูกปลามีอายุ 3 สัปดาห์ จะแยกเพศได้

หลังจากนั้น คัดขนาด และแยกเพศปลา เพื่อนำไปแยกเลี้ยงในบ่อ อัตรา 200 – 300 ตัว/ลบ.ม. โดยให้อาหารประเภทไรแดงในตอนเช้า และอาหารสำเร็จรูปในช่วงเย็นจนมีอายุประมาณ 3 เดือน พร้อมจับส่งจำหน่าย

การเลี้ยงหลังการอนุบาล
ปลาหางนกยูงที่จำหน่ายตามร้านขายปลามักมีอายุตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป ซึ่งจะถูกนำมาเลี้ยงในภาชนะหรือบ่อในรูปแบบต่างๆ ได้แก่
1. การเลี้ยงในขวดโหล
2. การเลี้ยงในกระถางดินเผาหรือบ่อซีเมนต์

น้ำที่ใช้เลี้ยง
น้ำที่ใช้เลี้ยง

 เอกสารอ้างอิง
7