ปลาข้างลาย

3238

ปลาข้างลาย เป็นปลาน้ำจืด ถูกค้นพบครั้งแรกโดย Maurice Kottelat เมื่อปี ค.ศ. 2000 เมื่อคราวเข้าศึกษาความหลากหลายของพันธุ์ปลาในประเทศลาว และตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ให้ว่า Crossocheilus atrilimes และให้ชื่อสามัญว่า Mekong algae eater ซึ่งมีการบรรยายลักษณะเด่นที่สำคัญของปลาชนิดนี้ คือ มีแถบสีดำเด่นชัดบริเวณกึ่งกลางข้างลำตัว

อนุกรมวิธาน
• Phylum : Chordata
• Subphylum : Craniata
• Superclass : Gnathostomata
• Class : Actinopterygii
• Subclass : Neopterigii
• Division : Teleostei
• Subdivition : Ostarioclupeomorpha
• Superorder : Ostariophysi
• Order : Cypriniformes
• Family : Cyprinidae
• Subfamily : Cyprininae
• Tribe : Labeonini
• Subtribe : Garrae
• Genus : Crossocheilus atrilimes

ที่มา : Kottelat, (2000)(1)

ลักษณะทั่วไป
ปลาข้างลาย มีลักษณะลำตัวเรียวยาว หัว และตามีขนาดเล็ก มีจะงอยปากค่อนข้างแหลม มีปากเป็นแบบดูดขนาดเล็ก ริมฝีปากบนเชื่อมกับขากรรไกรบนบริเวณมุมปากด้านข้าง ด้วยเยื่อบางๆ หนวดมี 1 คู่ มีขนาดสั้นมาก ส่วนฟันเป็นฟันประเภทฟันสิ่วที่เหมาะสำหรับการแทะกินสาหร่ายตามโขดหิน ส่วนลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนเหลือบเหลือง ลำตัวมีแถบสีดำเด่นชัดบริเวณกึ่งกลางข้างลำตัวเริ่มจากบริเวณปลายสุดของจะงอยปากทอดยาวไปจรดบริเวณกึ่งกลางของก้านครีบหาง ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับปลาเล็บมือนางมาก นอกจากนั้น จะมีจุดกลมจางๆ เรียงกัน 1 ถึง 2 แถว ยาวตามแนวของแถวเกล็ดที่อยู่ต่ำกว่าแนวของแถบดำข้างลำตัว มีจำนวนแถวของเกล็ดระหว่างรูทวารกับจุดเริ่มต้นของฐานครีบก้น จำนวน 1 แถวครึ่ง- 2 แถว

ปลาข้างลาย

ครีบปลาข้างลาย มีครีบหลัง และครีบหางสีเหลืองอ่อน ส่วนครีบอก ครีบท้อง และครีบก้นมีสีขาวอมเหลือง ครีบหางเว้าลึก เมื่อโตเต็มที่ปลาตัวผู้จะมีลำตัวยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร ส่วนปลาตัวเมียจะมีลำตัวยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร และอาจพบขนาดที่ยาวได้มากถึง 16 เซนติเมตร

การแยกแยะเพศของปลาข้างลายจากลักษณะภายนอกของปลาวัยอ่อนจะค่อนข้างยาก แต่สามารถแยกแยะเพศได้เมื่อถึงวัยที่โตเต็มที่ด้วยลักษณะพิเศษ คือ ปลาตัวผู้จะมีตุ่มสิวที่อยู่บริเวณแผ่นกระดูกตา นอกจากนั้น เมื่อถึงวัยผสมพันธุ์ปลาข้างลายตัวเมียจะมีส่วนท้องอวบอูม
ปลาข้างลายมีช่วงผสมพันธุ์ และวางไข่ในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม

การแพร่กระจาย
ปลาข้างลายเป็นปลาที่ชอบอาศัย และพบได้ในแหล่งน้ำไหลที่มีท้องน้ำเป็นกรวดหินขนาดเล็ก หรือมีก้อนหินขนาดใหญ่ ระดับน้ำที่อาศัยจะไม่ลึกมาก แสงแดดสามารถส่องถึง และมีสาหร่ายหรือตะไคร่น้ำตามโขดหินมาก พบได้มากในแม่น้ำในลุ่มน้ำโขง และในแม่น้ำโขงของประเทศลาว ไทย จนถึงประเทศกัมพูชา และพบได้ในลุ่มน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา ลุ่มน้ำชี และลุ่มน้ำมูลของประเทศไทย ชนิดที่พบ ได้แก่ ชนิด Crossocheilus atrilimes

เอกสารอ้างอิง

1