นกกระจอกเทศ และการเลี้ยงนกกระจอกเทศ

29865

นกกระจอกเทศ จัดเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่มีการเลี้ยงเพื่อนำเนื้อมาบริโภค ไข่แปรรูปเป็นเครื่องตกแต่ง ขนใช้ทำขนประดับ หนังใช้ทำกระเป๋า รวมถึงใช้ประโยชน์จากกระดูก และมูลนกในด้านต่างๆ

นกกระจอกเทศ (Ostrich) จัดเป็นนกชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ และวิ่งได้เร็วที่สุดในโลกในบรรดานกทั้งหมด แต่เป็นนกที่บินไม่ได้ เนื่องจากมีปีกขนาดเล็ก และมีลำตัวขนาดใหญ่ โดยมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบประเทศแอฟริกาตะวันออก

อนุกรมวิธาน
Phylum : Chordata
Class : Aves
Oreder : Struthioniformes
Super order : Paraognathae
Family : Stuthionidae
Genus : Raties

ถิ่นกำเนิด : ทวีปอาฟริกาตะวันออก
ชื่อสามัญ : OSTRICH
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Struthio camelus linn

ลักษณะทั่วไป
นกกระจอกเทศเมื่อโตเต็มวัยที่มีอายุประมาณ 3-4 ปี จะมีความสูงได้ถึง 2 เมตร และมีน้ำหนักตัวประมาณ 160 กิโลกรัม หรือมากกว่า ส่วนปีกจะมีขนาดเล็ก มีขนยาวเกิดบริเวณหาง ปีก และลำตัว แต่ขนยาวจะไม่เกิดบริเวณคอ หน้าอกส่วนล่าง และเท้าทั้ง 2 ข้าง แต่จะเป็นขนขนาดเล็ก และสั้นมาก ทำให้มองเห็นหนังได้ชัดเจน

นกกระจอกเทศ

นกกระจอกเทศมีหัวขนาดเล็กเมื่อเทียบกับลำตัวขนาดใหญ่ ปากมีลักษณะแบน และสั้นคล้ายปากเป็ด แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก มีขอบปากมน มีตา 2 ข้าง ทรงกลมขนาดใหญ่ ขอบตาเป็นรูปวงรี มีขนตาบนยาว คล้ายคนแต่งขนตา ถัดลงมาเป็นส่วนตอ มีลักษณะเรียวยาวมาก และมีขนสั้นติดผิวหนัง ถัดลงมาเป็นส่วนลำตัวที่มีขนาดใหญ่ มีปีกสั้น และต่อมาเป็นส่วนขา 2 ข้าง แต่ละข้างมีนิ้ว 2 นิ้ว

ลักษณะของนกกระจอกเทศทั้งตัวผู้ และตัวเมียมีลักษณะที่คล้ายกันมาก แต่มีข้อแตกต่างกันที่ ตัวผู้จะมีขนออกสีน้ำตาลอมดำ ส่วนตัวเมียจะมีขนออกสีน้ำตาลอมเทา โดยสามารถแยกเพศได้ชัดเจนเมื่อนกกระจอกเทศมีอายุตั้งแต่ 1-2 ปี ขึ้นไป

ลักษณะนิสัย
นกกระจอกเทศ เป็นนกที่มีนิสัยดุร้าย มีเท้าใช้เป็นอาวุธ มีสายตาว่องไว วิ่งได้เร็ว และมีการระวังภัยสูง ชอบอาศัยรวมกับสัตว์อื่น เช่น ฝูงยีราฟ หรือ ฝูงม้าลาย เพื่อคอยดักจับกินแมลง

การสืบพันธุ์ และการวางไข่
นกกระจอกเทศตัวผู้ที่มีร่างกายขนาดใหญ่ และเป็นหัวหน้าฝูงจะเป็นตัวที่ทำหน้าที่ผสมพันธุ์กับตัวเมียตัวอื่นในฝูง หลังจากผสมพันธุ์แล้ว ตัวเมียจะหาแหล่งวางไข่ที่เป็นแอ่งทราย ซึ่งจะวางไข่ใกล้ๆกันจากตัวเมียหลายตัว

ไข่นกกระจอกเทศมีเปลือกสีขาวขุ่น มีน้ำหนักได้มากกว่า 1 กิโลกรัม มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 14-20 เซนติเมตร ซึ่งไข่จะได้รับความอบอุ่นจากทั้งตัวผู้ และตัวเมีย โดยตัวเมียจะเข้ากกไข่ในเวลากลางวัน ส่วนตัวผู้จะเข้ากกไข่ในเวลากลางคืน มีระยะการฟักไข่ประมาณ 6 สัปดาห์

อาหาร และการกินอาหาร
นกกระจอกเทศเป็นสัตว์ที่กินได้ทั้งพืช และสัตว์ มีอาหารหลักที่เป็นพืช ได้แก่ หญ้าอ่อน ใบไม่อ่อน และผลไม้บางชนิด ส่วนอาหารที่เป็นสัตว์ และแมลง ได้แก่ ไส้เดือน ตั๊กแตน และแมลง หรือ สัตว์หน้าดินชนิดต่างๆ

ประโยชน์นกกระจอกเทศ
1. เนื้อ ใช้ประกอบอาหาร มีไขมัน และคอเลสเตอรอลต่ำ
2. หนัง ใช้ทำผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง เช่น รองเท้า และกระเป๋า เป็นต้น
3. ขน นำมาฟอก และย้อมสีสำหรับใช้ตกแต่งเสื้อผ้า หรือใช้ทำไม้ปัดฝุ่น เป็นต้น
4. ไข่ นำมาวาดลวดลายใช้เป็นเครื่องตกแต่ง
5. ไขมัน ใช้ประกอบอาหาร ใช้เป็นส่วนผสมเครื่องสำอางค์ ใช้ทำสบู่ หรือ ใช้ทานวดแก้ฟกช้ำ
6. กระดูก นำไปบดสำหรับผสมเป็นกระดูกป่นในอาหารสัตว์
7. มูล นำมาทำปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือใช้ใส่แปลงเกษตรโดยตรง

คุณค่าทางอาหารของเนื้อนกกระจอกเทศกับสัตว์ชนิด (ชนิดละ 85 กรัม)
1. โปรตีน (กรัม)
– นกกระจอกเทศ : 22.0
– เนื้อไ่ก่ : 27.0
– เนื้อวัว : 23.0
– เนื้อหมู : 24.0
– เนื้อแกะ : 22.0
2. พลังงาน (กรัม)
– นกกระจอกเทศ : 96.9
– เนื้อไ่ก่ : 140.0
– เนื้อวัว : 240.0
– เนื้อหมู : 275.0
– เนื้อแกะ : 205.0
3. โคลเลสเตอรอล (มก)
– นกกระจอกเทศ : 58.0
– เนื้อไ่ก่ : 73.0
– เนื้อวัว : 77.0
– เนื้อหมู : 84.0
– เนื้อแกะ : 78.0
4. ไขมัน (กรัม)
– นกกระจอกเทศ : 2.8
– เนื้อไ่ก่ : 0.9
– เนื้อวัว : 6.4
– เนื้อหมู : 7.0
– เนื้อแกะ : 5.6
5. ไขมันอิ่มตัว (กรัม)
– นกกระจอกเทศ : 2.0
– เนื้อไ่ก่ : 3.0
– เนื้อวัว : 15.0
– เนื้อหมู : 19.0
– เนื้อแกะ : 13.0
6. แป้ง (กรัม)
– นกกระจอกเทศ : 2.0
– เนื้อไ่ก่ : –
– เนื้อวัว : –
– เนื้อหมู : –
– เนื้อแกะ : –
7. แคลเซียม (มก)
– นกกระจอกเทศ : 5.2
– เนื้อไ่ก่ : 13.0
– เนื้อวัว : 9.0
– เนื้อหมู : 3.0
– เนื้อแกะ : 8.0

ผลิตภัณฑ์นกกระจอกเทศ
1. เนื้อ
เนื้อนกกระจอกเทศมีรสคล้ายเนื้อวัวมาก มีลักษณะเนื้อสีแดงถึงแดงเข้ม แต่มีไขมัน และโคเลสเตอรอลต่ำ เนื้อมีราคาแพง โดยทั่วไปอยู่ที่กิโลกรัมละ 400-500 บาท โดยแบ่งตามเกรดของเนื้อ ดังนี้
– เนื้อเกรด A ราคา 600 – 800 บาท/กิโลกรัม
– เกรด B ราคา 300 – 400 บาท/กิโลกรัม
– เศษเนื้อ ราคา 150 – 200 บาท/กิโลกรัม

นกกระจอกเทศที่เข้าโรงงานเพื่อแปรรูปจะมีอายุระหว่าง 10-14 เดือน และนกตัวผู้จะให้เนื้อแดงมากกว่าตัวเมียประมาณ 8.5-14.0% ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ เช่น
– นกกระจอกเทศคอดำ ที่อายุ 12-14 เดือน
– นกกระจอกเทศคอน้ำเงิน และคอแดง ที่อายุ 9-12 เดือน

นกกระจอกเทศที่มีอายุในช่วงนี้จะมีน้ำหนักประมาณ 90-110 กิโลกรัม/ตัว และมีน้ำหนักซากประมาณ 60 กิโลกรัม หรือคิดเป็น 56-64% ของน้ำหนักตัวทั้งหมด โดยจะได้เนื้อแดงประมาณ 34-43 กิโลกรัม

น้ำหนักอวัยวะต่างหลังการชำแหละ (น้ำหนักตัว 95.54 กิโลกรัม)
– น้ำหนักซาก : 55.91 กก.
– ขน : 1.74 กก.
– เลือด : 2.98 กก.
– ปีก : 0.74 กก.
– เท้า : 2.51 กก.
– หาง : 0.36 กก.
– หัว : 0.78 กก.
– หนัง : 6.71 กก.
– หัวใจ : 0.94 กก.
– ปอด และหลอดลม : 1.29 กก.
– กึ๋น : 2.16 กก.
– ตับ : 1.42 กก.
– ไต : 0.57 กก.
– เครื่องในอื่น : 8.29 กก.

ผลผลิตจากน้ำหนักซาก 55.91 กิโลกรัม
– เนื้อแดง : 34.1 กก.
– ไขมัน : 5.0 กก.
– กระดูก : 14.6 กก.

2. หนัง
นกกระจอกเทศที่มีอายุ 1 ปี สามารถให้หนังที่ 1.2-1.4 ตารางเมตร/ตัวโดยหนังจะได้จากส่่วนต่าง ดังนี้
– หนังส่วนแข้ง มีลักษณะเป็นเกล็ดคล้ายหนังของสัตว์เลื้อยคลาน
– หนังส่วนต้นขา เป็นหนังที่มีผิวเรียบคล้ายหนังวัว
– หนังบริเวณหลัง เป็นหนังที่มีเม็ดตุ่มนูนของรูขุมขน จัดเป็นหนังที่มีราคาแพงที่สุด ยิ่งหนังมีตุ่มนูน ตุ่มมีความเด่นชัดเจน และมีความสม่ำเสมอตลอดผืนก็ยิ่งมีราคาสูงมากขึ้นด้วย

ราคาขายหนัง
– หนังสด ราคา 5,000 – 6,500 บาท/ผืน
– หนังฟอก เกรด A ราคา 12,000 – 15,000 บาท/ผืน
– หนังฟอก เกรด B ราคา 10,000 – 12,000 บาท/ผืน

หนัังจากนกกระจอกเทศถือว่าเป็นเครื่องหนังที่มีคุณภาพ และราคาแพงที่สุด เมื่อเทียบกับหนังจระเข้ และหนังสัตว์อื่นๆ ซึ่งนิยมใช้ทำเครื่องหนังต่างๆ อาทิ รองเท้า เข็มขัด กระเป๋าเดินทาง และเสื้อหนัง เป็นต้น ตัวอย่างยี่ห้องเครื่องหนังต่างๆ ที่ทำมาจากหนังนกกระจอกเทศ ได้แก่
– Gucci
– Tony
– Nocona
– Justin
– Boots
– ยี่ห้ออื่นอีกหลายแบรนด์เนม

การเลี้ยงนกกระจอกเทศ
นกกระจอกเทศในธรรมชาติเป็นสัตว์ที่มีสัญชาตญาณในการระวังภัยสูง สายตาว่องไว วิ่งเร็ว มีนิสัยดุร้าย มีการตื่นตัวตลอดเวลา และยากที่จะเข้าใกล้ แต่เมื่อนำมาเลี้ยงในสถานกึ่งธรรมชาติที่มีการดูแล และให้อาหารเป็นอย่างดี ก็เป็นนกที่สามารถเลี้ยง และจัดการดูแลได้

ค่าพันธุ์
– ค่าพันธุ์ ลูกนกกระจอกเทศอายุ 1 วัน ตัวละ 2,500-3,000 บาท
– ลูกนกกระจอกเทศ อายุ 1 เดือน ตัวละ 6,000-7,000 บาท
– ลูกนกกระจอกเทศ อายุ 2 เดือน ตัวละ 8,500-10,000 บาท
– ลูกนกกระจอกเทศ อายุ 3 เดือน ตัวละ 11,500-13,000 บาท
– นกกระจอกเทศพ่อแม่พันธุ์ คู่ละ 135,000-150,000 บาท

ลูกนกกระจอกเทศ

อาหารสัตว์ และการให้อาหาร
นกกระจอกเทศที่ผ่านการอนุบาล และปล่อยเลี้ยงในลานแล้วจะมีอาหารเป็นหญ้าสดในแปลงเลี้ยง ร่วมกับการให้อาหารตามรางอาหาร
อาหารที่ให้แก่นกกระจอกเทศ แบ่งตามช่วงอายุ ดังนี้
– อายุ 1 เดือน ใช้หัวอาหาร + พืชผัก
– อายุ 2 เดือน ใช้หัวอาหาร + พืชผัก
– อายุ 3 เดือน ใช้หัวอาหาร + พืชผัก
– อายุ 4-8 เดือน ใช้หัวอาหาร + พืชผัก
– อายุ 8 เดือนขึ้นไป ใช้รำ ผสมพืชผัก