กิ้งกือ สัตว์ที่มีขามากที่สุด

15718

กิ้งกือ เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีขามากที่สุดในสัตว์บก พบมากในพื้นที่ชื้นแฉะที่คอยกินซากพืช ซากสัตว์ และสารอินทรีย์เน่าเปื่อยต่างๆเป็นอาหาร จึงถือเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อการย่อยสลายในระบบนิเวศ

อนุกรมวิธาน
Kingdom : Animalia
Phylum : Arthropoda
Subphylum : Myriapoda
Class : Diplopoda
Super order : Penicillata
– Order : Polyxenida
Super order : Pentazonia
– Order : Glomeridesmida
– Order : Sphaerotheriida
– Order : Glomerida
– Order : Siphoniulida
Super order Colobognatha
– Order Platydesmida
– Order Siphonophorida
– Order Polyzoniida
Super order Nematophora
– Order Stemmiulida
– Order Callipodida
– Order Choprdeumatida
Super order Merocheta
– Order Polydesmida
Super order Juilformia
– Order Spirobolida
– Order Spirostreptida
– Order Julida

ลักษณะทั่วไป
กิ้งกือเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ร่างกายประกอบด้วย 2 ส่วน คือ หัว และลำตัว มีความยาวประมาณ 10-20 ซม. ลำตัวกว้างประมาณ 1-1.5 ซม.
1. หัว
ส่วนเป็นส่วนด้านหน้า มีขนาดสั้น มีปากที่มีฟันกัด ไม่มีตา แต่จะมีหนวดสั้นๆ 2 อัน สำหรับใช้นำทาง และสัมผัส

2. ลำตัว
ลำตัวกิ้งกือเป็นส่วนที่ความยาวมากที่สุด มีลักษณะเป็นปล้อง แต่ละปล้องมีลักษณะเป็นเปลือกแข็ง เป็นมันเงา และมีหลายสี อาทิ สีน้ำตาลอมเหลือง สีน้ำตาลเข้ม สีน้ำตาลอมแดง สีแดง สีดำ ลายปล้องเหลืองดำ หรือเป็นลายปล้องน้ำตาลเหลือง เป็นต้น โดยกิ้งกือวัยอ่อนจะไม่มีขา ส่วนตัวเต็มวัย ปล้องแรกถัดจากหัวจะไม่มีขา ส่วนปล้องที่2, 3 และ4 จะมีขาเพียง 1 คู่ และปล้องที่5 ถัดจากส่วนหัวจะมีขา 2 คู่ จึงทำให้กิ้งกือเป็นสัตว์ที่มีขามากที่สุดในบรรดาสัตว์บกทุกชนิด

กิ้งกือ1

การดำรงชีพ
แหล่งอาศัย
กิ้งกือ เป็นสัตว์ที่ไม่ชอบแสง ชอบอาศัยในดิน โพรงไม้ กาบไม้ หรือ ที่ที่มีซากพืชทับถมกันที่มีสภาพชื้น ซึ่งจะใช้เป็นที่หลบพักในเวลากลางวัน

อาหาร
กิ้งกือเป็นสัตว์กินซากพืช ซากสัตว์ และซากเน่าเปื่อยของอินทรีย์วัตถุต่างๆเป็นอาหาร โดยจะออกหากินในเวลากลางคืน บริเวณหน้าดินที่มีความชื้นแฉะ และมีซากเน่าเปื่อยทับถมมาก รวมถึงชอบหากินอาหารตามโพรงหรือรูใต้ดิน

การระวังภัย
เมื่อกิ้งกือถูกคุมคาม กิ้งกือจะม้วนตัวเป็นวงกลม อยู่นิ่ง ไม่เคลื่อนไหว และจะหลั่งสารเคมีจากต่อมใต้กระดองออกมาก สารนี้จะทำให้รู้สึกเหม็นฉุน และออกฤทธิ์ทำให้ระคายเคืองทำให้ศัตรูไม่อยากเข้าใกล้ แต่สารนี้จะไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ แต่จะเป็นอันตรายต่อสัตว์อื่นที่มีขนาดเล็ก เช่น มดบางชนิด ปลวก แตน เป็นต้น แต่กิ้งกือส่วนมากจะชอบอาศัยอยู่ร่วมกับมดแบบพึ่งพาอาศัยกัน โดยมดจะช่วยป้องกันภัยให้ ส่วนกิ้งกือจะคอยทำความสะอาดรังให้

กิ้งกือ

ชนิดของกิ้งกือ และการแพร่กระจาย
กิ้งกือทั่วโลกมีประมาณ 10,000 ชนิด และคาดหมายว่า น่าจะมีเพิ่มมากขึ้น เนื่องจาก การศึกษา และสำรวจยังไม่ครอบคลุมในทุกพื้นที่

ชนิดของกิ้งที่พบมากที่สุดทั้วโลก โดยพบมากกว่า 50% ของกิ้งกือทั้งหมด คือ กิ้งกือตะเข็บ มีลักษณะทั่วไป คือ ลำตัวมีขนาดเล็ก มีปล้อง 20 ปล้อง เป็นกิ้งกือที่ไม่มีตา แต่ใช้หนวดในการสัมผัส และการนำทาง มีหนามยืนออกมาจากด้านข้างลำตัว ชอบหลบอาศัยอยู่ในดิน แล้วค่อยออกหากินบริเวณหน้าดินในตอนกลางคืน

วงศ์ของกิ้งกือที่พบในแต่ละทวีป
1. Callipodida
– อเมริกาเหนือ
– ยุโรป
– เอเชียตะวันตก
– ตอนใต้ของจีน
– เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
2. Chordeumatida
– พบกระจายอยู่ทั่วโลก ยกเว้น เขตร้อนทางอเมริกาใต้ และ ทะเลทรายในแอฟริกา
3. Glomerida
– ทางซีกโลกเหนือ
– เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
4. Julida
– ตอนเหนือของอเมริกาถึงปานามา
– ยุโรป
– เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
5. Penicellata
– กระจายอยู่ทั่วโลก พบมากในแถบที่มีความชื้นน้อย
6. Platydesmida
– ตอนเหนือ และตอนกลางของอเมริกา
– ยุโรป
– เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
– ญี่ปุ่น
7. Polydesmida
พบกระจายทั่วโลก
8. Polyzoniida
– ตอนเหนือของอเมริกา
– หมู่เกาะแถบทะเลคาริเบียน
– ยุโรป
– ตอนใต้ของแอฟริกา
– ทางตะวันออกและทางใต้ของเอเชีย
– เกาะในมหาสมุทรอินเดีย
– นิวชีแลนด์
9. Siphonocryptida
– ตอนใต้ขอแอฟริกา
– หมู่เกาะมาดากัสก้า
– อินเดีย
– เอเชี่ยตะวันออกเฉียงใต้
– ออสเตเรีย
– นิวชีแลนด์
10. Spirobolida
– แอฟริกา
– ตอนใต้ของเทือกเขาหิมาลัย
– ออสเตเรีย
11. Stemmiulida
– ตอนใต้ของอเมริกา และอเมริกากลาง
– ตอนกลางของแอฟริกา
– ทางใต้ และตะวันตกของอินเดีย
– เกาะนิวกินี

กิ้งกือตามบ้านเรือน
กิ้งกือที่พบได้ทั่วไปตามบ้านเรือน ส่วนมากจะเป็นกิ้งกือในสกุล Thyropygus ซึ่งในบ้านเราพบประมาณ 23 ชนิด ได้แก่
1. กิ้งกือหางแหลมอิสาน
– ภาคอีสาน
2. กิ้งกือหางแหลมน้าตาลเข้ม
– ภาคกลาง
– ภาคอีสานบางส่วน
3. กิ้งกือหางแหลมเท้าบานเย็น
– ภาคกลางตอนบน
– ภาคเหนือ
4. กิ้งกือเหลืองทั่วไป
– พบแพร่กระจายทั่วไป
5. กิ้งกือกระบอกใต้สีเหลือบ
– ภาคใต้
6. กิ้งกือเหลืองเท้าส้ม
– ภาคใต้
7. กิ้งกือหางแหลมเทาเขียว
– ภาคใต้
8. กิ้งกือหางแหลมน้าตาลใต้
– ภาคใต้
9. กิ้งกือหางแหลมดามัน
– ภาคใต้
10. กิ้งกือหางแหลมใหญ่ใต้
– ภาคใต้
11. กิ้งกือหางแหลมดาหลังน้าตาล
– ภาคใต้
12. กิ้งกือหางแหลมบีอาร์ที
– ภาคใต้
13. กิ้งกือหางแหลมเขียวเทาส้ม
– ภาคใต้
14. กิ้งกือหางแหลมน้าตาลดา
– ภาคใต้
15. กิ้งกือหางแหลมดาเท้าแดง
– ภาคใต้
16. กิ้งกือหางแหลมตะวันตก
– ภาคตะวันตก
17. กิ้งกือหางแหลมน้าตาลเหนือ
– ภาคเหนือ
– ภาคกลาง
18. กิ้งกือหางแหลมเหลืองดา
– ภาคใต้
19. กิ้งกือหางแหลมน้าตาลอ่อน
– ภาคใต้
20. กิ้งกือหางแหลมฮอฟแมน
– ภาคใต้
21. กิ้งกือหางแหลมเอนฮอฟ
– ภาคใต้
22. กิ้งกือหางแหลมน้าตาลใหญ่
– ภาคใต้
23. กิ้งกือหางแหลมดีมาง
– ภาคใต้

ทั้งนี้ มีการศึกษาพบกิ้งกือตะเข็บ 4 ชนิดใหม่ของโลกในไทย ได้แก่
1. Orthomorpha enghoffi sp. n.
– สำรวจพบบริเวณ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา และจ.เลย
– ลักษณะลำตัวสีดำ หนามข้างลำตัวมีสีครีม
2. Orthomorpha alutaria sp. n.
– สำรวจพบบริเวณ อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี
– ลักษณะลำตัวสีดา หนามข้างลำตัวมีสีส้มแดง
3. Orthomorpha parasericata sp. n.
– สำรวจพบบริเวณ อ.คีรีรัตน์นิคม จ.สุราษฎร์ธานี
– ลักษณะลำตัวสีดำ หนามข้างลำตัวมีสีส้มเหลือบชมพู
4. Orthomorpha asticta sp. n.
– สำรวจพบบนเกาะตะรุเตา จ.สตูล
– ลักษณะลำตัวมีสีดำ หนามข้างลำตัวมีสีเหลือง

นอกจากนี้ ยังศึกษาพบชนิดเดียวกันบนเกาะตะรุเตาซึ่งแสดงให้เห็นว่า ประเทศไทย และหมู่เกาะใกล้เคียงอาจเคยเป็นแผ่นดินเดียวกัน (สมศักดิ์ และคณะ, 2552)(1)

ประโยชน์ของกิ้งกือ
1. เป็นผู้ช่วยในการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในระบบนิเวศเพื่อเป็นอาหาร ทั้งซากพืช ซากสัตว์ และสิ่งเน่าเปื่อยต่างๆ ประโยชน์ข้อนี้ เป็นที่น่าเสียดายที่คนทั่วไปมักมองข้าม และชอบกำจัดกิ้งกือหากพบในบริเวณบ้านตัวเอง เพราะลำตัวมีลักษณะที่น่ารังเกียจ แต่หากบ่อยให้มีกิ้งกือบริเวณบ้านที่ชื้นแฉะหรือมีกองสิ่งปฏิกูลก็จะช่วยในการย่อยสลาย และกำจัดสิ่งปฏิกูลเหล่านี้ได้ แต่ควรให้มีในจำนวนที่เหมาะสม
2. กิ้งกือจะชอบปั้นมูลเป็นก้อน ซึ่งมูลนี้จะมีจุลินรีย์ที่ช่วยในการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุได้ดี

การไล่หรือกำจัดกิ้งกือ
1. ใช้ยาปราบแมลงศัตรูพืชฉีดพ่น ซึ่งจะทำให้กิ้งกือตายได้
2. ใช้ซอล์คฆ่ามด วิธีนี้บางครั้งอาจพบทำให้กิ้งกือตาย แต่บางครั้งเป็นเพียงป้องกันเท่านั้น

เอกสารอ้างอิง
untitled