หอยลาย (Venus shell) เป็นหอยทะเลสองฝาที่นิยมจับ และนำมารับประทาน เนื่องจากเนื้อหอยลายมีรสหวานนุ่ม อีกทั้งมีราคาถูก ชาวประมงสามารถจับได้ง่าย และมีแพร่กระจายจำนวนมากในน่านน้ำไทย ซึ่งในแต่ละปีสามารถทำรายได้จากการจำหน่ายในประเทศ และส่งออกสร้างมูลค่าหลายล้านบาท
อนุกรมวิธาน
Phylum : Mollusca
Class : Pelecypoda
Order : Eumellibranchia
Family : Veneridae
Genus : Paphia
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Paphia undulata B0rn,
• ชื่อสามัญ :
– Venus shell
– Short necked clam
– Carpet shell
– Surf clam
– Venus shell
– Baby clam
ลักษณะหอยลาย
หอยลายเป็นหอยสองฝาที่มีขนาดฝาทั้งสองเท่ากัน เปลือกหอยมีรูปร่างยาวรี เปลือกค่อนข้างบาง ผิวเปลือกด้านนอกเรียบ เป็นมัน และมีลายเป็นตาข่ายสีน้ำตาล ส่วนผิวเปลือกด้านในมีลักษณะเรียบ ผิเปลือกมีสีขาว ที่ขอบฝาด้านในทั้ง 2 ข้าง ในตำแหน่งบานพับของฝาหอยจะมีฟันข้างละ 3 ซี่
ชีววิทยาของหอยลาย
แหล่งอาศัยของหอยลาย
หอยลายชอบอาศัยตามดินโคลนตามชายฝั่งทะเลบริเวณปากแม่น้ำที่มีอินทรีย์สารทับถมกัน โดยจะชอบอาศัยตามชายฝั่งที่มีความลึกประมาณ 3-6 เมตร และสามารถพบได้ในระดับความลึกมากกว่า 6 เมตร ในระยะห่างจากฝั่ง 0-3 กิโลเมตร ทั้งอยู่บริเวณหน้าโคลน เพื่อกินอาหารที่ลอยหน้าผิวโคลน และฝังตัวเองลงโคลน 1-10 ซม. เพื่อกินอาหารที่ทับถมในโคลน
อาหาร และการกินอาหาร
อาหารของหอยลายที่สำคัญ ได้แก่ แพลงก์ตอนพืช และสัตว์ รวมถึงซากพืช ซากสัตว์หรืออินทรีย์สารที่เน่าเปื่อยที่ทับถมในดินโคลน
การผสมพันธุ์ของหอยลาย
หอยลาย เป็นหอยแยกเพศอยู่คนละตัวกัน ทำให้มีการผสมพันธุ์ข้ามตัว โดยมีช่วงสมพันธุ์ 2 ครั้ง ในรอบปี คือ ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม โดยจะมีการวางไข่มากในเดือนเมษายน และช่วงที่ 2 คือ ช่วงเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน โดยจะมีการวางไข่มากในเดือนตุลาคม หอยลายตัวเต็มวัยที่สามารถเริ่มสืบพันธุ์ได้จะมีขนาดตั้งแต่ 3.0-3.8 เซนติเมตร หรือมีอายุประมาณ 1 ปี ขึ้นไป ทั้งนี้ หอยลายจะมีอายุขัยได้ประมาณ 3 ปี
การแพร่กระจาย
หอยลายพบแพร่กระจายทั่วไปบริเวณปากแม่น้ำ โดยเฉพาะปากแม่น้ำทางฝั่งอ่าวไทย เช่น ชลบุรี สมุทรปราการ และตราด เป็นต้น โดยมีแหล่งประมงที่สำคัญ คือ จังหวัดตราด ส่วนทางฝั่งทะเลอันดามัน พบมากบริเวณปากแม่น้ำในแถบจังหวัดพังงา ภูเก็ต ตรัง และระนอง เป็นต้น โดยหอยลายที่พบในประเทศไทยมีประมาณ 3 ชนิด คือ
1. Paphia undulata
2. P. alapapilionis
3. P. crassisulca
ทั้งนี้ แต่ละชนิดจะมีลักษณะของลวดลายบนฝาหอยที่แตกต่างกัน และชนิดที่พบมาก และนิยมนำมารับประทานหรือทำการประมง และส่งออก คือ Paphia undulata
ประโยชน์หอยลาย
1. หอยลายนิยมนำมาประกอบอาหารในหลายเมนู อาทิ ผัดหอยลาย ใช้เนื้อประกอบอาหาร
2. หอยลายนำมาแปรรูปเป็นหอยลายอบแห้ง หอยลายกระป๋อง เป็นต้น
3. หอยลายสามารถเพาะเลี้ยงได้เหมือนหอยทะเลชนิดอื่น ซึ่งแต่ละมีมีการจำหน่าย และส่งออกสร้างลายได้ให้แก่ชาวประมงหลายล้านบาท
4. เปลือกหอยลายนำไปบดเพื่อใช้เป็นส่วนผสมอาหารสัตว์
การประมงหอยลาย
การประมงหรือการจับหอยลาย ชาวประมงจะใช้วิธีการนำเรือวิ่งออกบริเวณปากอ่าวหรือแถบชายฝั่ง แล้วทิ้งคราดหรือกระชังที่มีเชือกผูกติดกับเรือลงน้ำ จากนั้น จากนั้น จะวิ่งเรือเพื่อลากกระชังเป็นวงรอบ 5-10 ก่อนจะนำกระชังขึ้นมาเพื่อสำรวจความชุกชุมของหอยลาย ก่อนจะเก็บหอยลาย และทิ้งกระชังลงลากอีกครั้งหากหอยลายชุกชุม หากมีปริมาณน้อย ชาวประมงมักจะวิ่งเรือไปสำรวจแหล่งใหม่ แต่โดยทั่วไป ชาวประมงจะทราบว่าแหล่งไหนที่มีหอยลายชุกชุม และจะเข้าจับหอยลายเป็นช่วงๆเพื่อให้หอยลายขยายพันธุ์ และเติบโตให้ได้ขนาด ทั้งนี้ หอยลายที่นิยมจับ และเป็นที่ต้องการของตลาดจะมีขนาดตั้งแต่ 3 เซนติเมตร ขึ้นไป
การทำหอยลายกระป๋อง
1. นำหอยมาใส่ตะแกรง และล้างน้ำให้สะอาด
2. ชั่งน้ำหนักหอยลาย 5 กิโลกรัม เพื่อเข้านึ่งในแต่ละครั้ง
3. นำหอยลายไปนึ่งนาน 10 นาที เพื่อให้ฝาหอยเปิด
4. นำหอยไปแช่ในละลายที่ใช้เติมในกระป๋อง ความเข้มข้นร้อยละ 15
5. นำหอยลายมาแยกเนื้อ และล้างน้ำให้สะอาด
6. ลวกหอยลายที่อุณหภูมิประมาณ 80 °C ในสารละลายผสมของน้ำเกลือ 0.1% และกรดซิตริก 0.2% นาน 3 นาที
7. นำหอยลายนำขึ้นมาใส่ตะแกรงเพื่อให้เสด็ดน้ำ และให้เย็นลง
8. นำหอยลายบรรจุในกระป๋อง
9. เติมสารละลายที่ใช้บรรจุ (เกลือ 2.0%, น้ำตาล 1.0%ม ไดโซเดียมแคลเซียม อีดีทีเอ 0.1% และกรดซิตริก 0.2%)
10. นึ่งฆ่าเชื้อ และปิดฝากระป๋อง