หอยทาก และเมือกหอยทาก

32062

หอยทาก เป็นหอยฝาเดียวที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ซึ่งวิวัฒนาการมาตั้งยุคดึกดำบรรพ์กว่าหลายร้อยล้านปี ปัจจุบัน หอยทาก เป็นหอยเป็นหอยที่เริ่มเข้ามามีบทบาทในด้านเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง เนื่องจาก เมือกหอยทากมีสรรพคุณทางยา และนิยมใช้อย่างมากในด้านความงามสำหรับการดูแลผิวพรรณ

อนุกรมวิธาน
• Phylum Mollusca
• Class Gastropooda
• Subclass Pulmonata
– Basommatophora
– Systellommatophora
– Stylommatophora

ลักษณะทั่วไปของหอยทาก
ลักษณะทั่วไปของหอยทากจะประกอบด้วย 2 ส่วน ที่ไม่สามารถแยกจากกันได้ คือ ส่วนที่เป็นตัวหอยหรือเนื้อหอย และเปลือกหอย

ส่วนลำตัว เป็นส่้วนเนื้อที่อยู่ภายในเปลือกหอย และสามารถยื่นออกด้านนอกเปลือกได้ โดยส่วนปลายของลำตัวจะเป็นส่วนหัวที่ประกอบด้วย หนวด 2 คู่ มีตาอยู่บริเวณปลายหนวดที่มีลักษณะเป็นจุดสีดำ ใช้ทำหน้าที่รับแสง ส่วนหนวดอีกคู่ มีลักษณะสั้นมากเมื่อเทียบกับหนวดคู่บน หนวดคู่นี้จะอยู่ด้านล่างบริเวณปาก ใช้ทำหน้าที่ดมกลิ่นทางอากาศหรือตามพื้น รวมถึงใช้สำหรับการหาคู่ผสมพันธุ์

หอยทาก

สำหรับอวัยวะสืบพันธุ์จะอยู่บริเวณด้านข้างของตัวหอย มีลักษณะเป็นรูเปิด ซึ่งอาจพบทั้งทางด้านซ้าย และด้านขวา ขึ้นกับการวนของเปลือกหอย โดยอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้จะอยู่ด้านหน้า ส่วนอวัยวะสืบพันธุ์เพศเมียจะอยู่ด้านหลังบริเวณส่วนคอ

แผ่นเท้าทำหน้าที่ใช้ในการคืบคลาน เป็นส่วนที่อยู่ด้านล่างของด้านข้างลำตัว และส่วนหัว บางชนิดมีแผ่นเท้ายื่นยาวเลยเปลือกออกมา ส่วนด้านล่างของแผ่นเท้าที่สัมผัสกับพื้น มีลักษณะเรียบ และแผ่กว้างออกด้านข้าง แผ่นเท้านี้จะมีต่อมเมือกหลั่งสารเมือก ทำให้พื้นสัมผัสลื่น ทำให้หอยเคลื่อนที่ได้ดีขึ้น

เปลือกหอย
เปลือกหอยเป็นอวัยวะที่ใช้ห่อหุ้มเนื้อหรือลำตัว มีลักษณะ และขนาดแตกต่างกัน บางชนิดมีขนาดเล็ก และบางใส บางชนิดมีขนาดใหญ่ และแข็ง นอกจากนั้น บางชนิดไม่มีเปลือก ซึ่งเรียกว่า “ทาก”

ปกติ การเวียนของเปลือกหอยทากบกจะมีการเวียนขวา แต่มีหอยหลายชนิดที่มีรูปแบบการเวียนซ้าย บางชนิดเช่นหอยนกขมิ้น สกุล Amphidromus มีเปลือกที่เวียนทั้งขวา และซ้าย การสังเกตการเวียนขวาหรือซ้าย ทำได้โดยหันปากเปลือกหอยเข้าหาตัว แล้วเอาส่วนของก้นหอยหรือยอดชี้ขึ้นข้างบน ปากเปลือกหันไปทางด้านใดของตัวเราก็เป็นการเวียนแบบนั้น

การแพร่กระจาย และถิ่นที่อยู่อาศัย 
หอยทากสามารถพบได้ทั่วไปตามบริเวณที่ค่อนข้างชุ่มชื้น มีขอนไม้ เศษใบไม้ หรือ กิ่งไม้ผุทับถมกัน รวมถึงบางชนิดสามารถพบได้บนต้นไม้ ใต้ใบไม้ บางชนิดชอบอาศัยตามผนังเขาหินปูน

หอยทาก1

ในช่วงฤดูแล้ง หากทากมักปิดฝาหอยเพื่อเก็บตัว และหลบอาศัยตามที่ชื้น ตามกองเศษไม้ โพรงไม้ หรือฝังตัวอยู่ใต้ดิน ไม่ค่อยพบออกมาด้านนอกให้เห็นนัก แต่เมื่อถึงช่วงฤดูฝนจึงออกมาด้านอกเพื่อหาอาหาร ส่วนทากที่ไม่มีเปลือกก็มักจะหลบอาศัยในลักษณะเดียวกันกับหอยทาก แต่จะชอบหลบอาศัยในโพรงไม้หรือซอกหินมากกว่าที่จะอยู่ใต้ดิน และมีการสร้างแผ่นหินปูนมาห่อหุ้มลำตัวไว้แน่น

อาหาร และการกินอาหาร
หอยทากแต่ละชนิดจะชอบกินอาหารที่แตกต่างกัน แต่อาหารทั่วไปมีทั้งพืชสด และซากพืชที่เน่าเปื่อย โดยการกินอาหารจะใช้อวัยวะที่เรียกว่า แผ่นฟัน สำหรับขูดหรือตัดอาหารเข้าปาก

แผ่นฟันของหอยทากมีองค์ประกอบหลักเป็นสารไคติน ประกอบกันขึ้นเป็นแผ่นรูปทรงแบน และบาง เรียงกันเป็นฟันซี่เล็กๆเป็นแถวเต็มช่องปาก ซึ่งชนิดที่มีการล่าเหยื่อจะมีซี่ฟันคล้ายดาบยาว  ส่วนปลายของฟันแหลม ส่วนพวกกินพืชหรือเศษพืชจะมีซี่ฟันค่อนข้างป้านคล้ายจอบหรืออาจเป็นหยักคล้ายฟันเลื่อยเพื่อช่วยในการขูดตัดซากพืชเข้าปาก

หอยทาก เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืนช่วงดึก เพราะในช่วงนี้อากาศจะเย็น และมีน้ำค้างตกบนพื้น ทำให้เคลื่อนที่ได้ง่าย และไม่เสี่ยงต่อการสูญเสียน้ำหรือันตรายจากศัตรูนักล่า แต่บางครั้งหลังฝนตกที่มีพื้นชื้นแฉะก็มักพบหอยทากออกมาหากินได้เช่นกัน

น้ำเมือกหอยทาก
น้ำเมือกที่พบได้บนตัวหอยทากขณะคืบคลานออกหาอาหาร เป็นน้ำเมือกที่ถูกขับออกมาจากต่อมบริเวณแผ่นเท้า และลำตัว เพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้แก่ผิวหนังลำตัว และช่วยให้เคลื่อนที่ได้สะดวกขึ้น

สารสำคัญที่พบในน้ำเมือก
– Alantoin
– Collagen
– Elastin
– Natural antibiotics
– Glycolic acid

ประโยชน์ของหอยทาก
1. หอยทากบางชนิดใช้ประกอบอาหาร ให้เนื้อนุ่ม เหนียว อุดมไปด้วยกรดอะมิโนหลายชนิด ที่ช่วยในการเติบโต และซ่อมแซมร่างกาย
2. น้ำเมือกหอยทากใช้เป็นยารักษาอาการอักเสบ ยารักษาแผล กระตุ้นการหายของแผล
3. น้ำเมือกใช้เป็นยาผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ทั้งระบบกล้ามเนื้อภายใน และภายนอก
4. น้ำเมือกใช้เป็นยาลดอการหอบหืด ช่วยในการขยายหลอดลม
5. น้ำเมือกใช้เป็นยาชาเฉพาะที่
6. น้ำเมือกใช้ทาผิวหนังเฉพาะจุดเพื่อต้านเชื้อจุลินทรีย์
7. น้ำเมือกหอยทากใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอางสำหรับบำรุงผิว
8. หอยทากมีชีวิตใช้วางบนผิวหน้าหรือผิวหนังส่วนต่างเพื่อให้น้ำเมือกแทรกเข้าสู่รูขุมขน ทำให้ผิวเต่งตึง ปัจจุบัน นิยมทำกันในรูปของสปาหอยทาก

หอยทาก3

สรรพคุณของหอยทาก และเมือกหอยทาก
1. ช่วยซ่อมแซม และรักษาบาดแผล
2. ลดอาการอักเสบของบาดแผล ต้านการติดเชื้อของแผล
3. ช่วยรักษาความชุ่มชื้นของผิว ป้องกันผิวแห้งเสีย
4. เร่งการสร้างคอลาเจนในชั้นผิวหนัง ทำให้ผิวเต่งตึง แลดูสดใส

ข้อควรระวัง และข้อแนะนำ
น้ำเมือกของหอยทากอาจทำให้เกิดอาการแพ้ในบางคน ดังนั้น ก่อนใช้ควรตรวจสอบอาการแพ้ก่อน ด้วยการป้ายบริเวณลำคอหรือแขนด้านในเพียงจุดเล็กก่อน หากไม่มีอาการแพ้จึงค่อยใช้ทาบริเวณอื่น แต่หากเกิดผื่นคันหรืออาการผิดปกติอย่างอื่น ควรหลีกเลี่ยงการใช้