ปลาจวด และประโยชน์ปลาจวด

24690

ปลาจวด (Drum fish) เป็นปลาทะเลที่มีหลายชนิด เป็นปลาขนาดเล็กถึงใหญ่ ซึ่งมีราคาแพงตั้งแต่ 150-500 บาท/กิโลกรัม หรืออาจมากกว่า ขึ้นอยู่กับขนาด และสายพันธุ์ นิยมนำมาประกอบอาหาร โดยเฉพาะเมนูนึ่ง ทอด และต้มยำ รวมถึงแปรรูปเป็นปลาตากแห้ง

อนุกรมวิธาน
Phylum : Vertebrata
Class : Teleostomei
Order : Percoidei
Family : Sciaenidae
Genus : Pennahia

• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pennahia anea
• ชื่อสามัญ : Drum fish หรือ Croaker fish
• ชื่อท้องถิ่นไทย : ปลาจวด

ลักษณะทั่วไป
ปลาจวด มีรูปร่างยาวรีหรือรูปไข่ ลำตัวมีลักษณะแบนข้าง บริเวณจะงอยปากมีรู 4 รู และบริเวณใต้คางมีรู 5 รู โดยมีจวดบางชนิดมีหนวดใต้คาง 1 เส้น ส่วนตา และรูจมูกมีอย่างละ 2 ข้าง และอยู่ใกล้กันมาก ส่วนขากรรไกรอาจเสมอหรือมีขากรรไกรล่างยื่นยาวกว่า ขอบกระดูกแก้มอันแรกเป็นหยัก และที่แผ่นแก้มมีหนามแบนๆ 2 อัน ส่วนฟันในปากมีลักษณะเป็นซี่เล็กๆขึ้นถี่เหงือกมีซี่เหงือก 4 อัน เกล็ดเป็นแบบ cycloid c ปกคลุมทั่วลำตัวไปจนถึงครีบหลัง และครีบก้น มีเส้นข้างลำตัว 1 เส้น เริ่มตั้งแต่หลังเหงือกยาวไปจนถึงโคนหาง พื้นสีลำตัวส่วนบนมีสีน้ำตาลหรือสีเทา ส่วนพื้นสีลำตัวส่วนล่างมีสีเงิน

%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%88%e0%b8%a7%e0%b8%94

ปลาจวดมีฟันขึ้นทั้งขากรรไกรบน และขากรรไกรล่าง โดยฟันขากรรไกรล่างมักมีขนาดเล็กกว่าฟันขากรรไกรบน โดยปลาจวดในแถบเอเชีย รวมถึงประเทศไทยจะมีฟันเป็นแบบกรวย ซึ่งทั้งขากรรไกรบน และล่างจะมีทั้งฟันขนาดเล็ก และขนาดใหญ่สลับกันไป

เหงือกปลาจวดแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
1. แกนเหงือก (gill arch) ประกอบด้วยซี่เหงือก (gill filament) ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกายกับที่มีอยู่ในน้ำทะเลด้านนอก
2. ซี่กรองเหงือก (gill raker) มีลักษณะเป็นแท่งขนาดเล็กเรียงชิดกัน อยู่ด้านตรงกันข้ามกับซี่เหงือก
3. ฟันขนาดเล็กละเอียด (epithelialdenticles) ซึ่งติดอยู่บนพื้นผิวของซี่เหงือก ทำหน้าที่คอยดักจับอาหาร

ครีบปลาจวด ประกอบด้วยครีบหลังมี 2 ช่วง ช่วงแรกเป็นก้านครีบแข็ง ซึ่งมีบานครีบสั้นกว่าฐานครีบช่วงที่ 2 ส่วนช่วงที่ 2 เป็นก้านครีบอ่อน ครีบก้นยาว 1 ใน 4 ของครีบหลัง ซึ่งเป็นหนามแข็ง 2 อัน อันแรกมีขนาดเล็กมาก ส่วนอันที่ 2 มีขนาดใหญ่ ครีบอกมีลักษณะกลม ส่วนครีบหางเว้าลึก

ลักษณะเด่นของปลาจวดอีกอย่าง คือ สามารถทำเสียงร้องได้ เพราะปลากระจวดมีกระเพาะลมขนาดใหญ่ และแข็งแรง สามารถพองหรือหดได้อย่างรวดเร็ว จนทำให้เกิดเสียงขึ้นได้ ซึ่งมีประโยชน์ในการสื่อสารเพื่อการผสมพันธุ์

ยกตัวอย่างปลาจวดที่พบในรัฐ Maryland สหรัฐอเมริกา จะส่งเสียงร้องมากในช่วงฤดูผสมพันธุ์ คือ เริ่มตั้งแต่ช่วงเดือนพฤษภาคม-มีนาคม ของปีถัดไป โดยเริ่มส่งเสียงร้องตั้งแต่ช่วงเย็นไปเรื่อยจนถึงเช้าตรู่ และจะส่งเสียงร้องดังที่สุดในช่วงก่อนถึงเที่ยงคืน แล้วค่อยๆลดลงอย่างรวดเร็วจนหยุดส่งเสียงในก่อนรุ่งสาง (1)

%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%88%e0%b8%a7%e0%b8%941

อาหารปลาจวด
ปลาจวด เป็นปลาที่หากินบริเวณพื้นท้องน้ำ มีอาหารที่สำคัญ ได้แก่ กุ้ง ปู และปลาขนาดเล็ก เป็นต้น

การแพร่กระจาย
ปลาจวด พบแพร่กระจายทั่วไปตามชายฝั่งทะเลในแถบร้อน ตั้งแต่ประเทศอินเดียจนถึงประเทศหรือหมู่เกาะในฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนประเทศไทยพบทั่วไปตามชายฝั่งทั้งในทะเลอันดามัน และฝั่งอ่าวไทย

ปลาจวดในประเทศไทย
ปลาในวงศ์ปลาจวดที่พบในไทยจากรายงานการรวบจากเอกสารต่างๆของ ยนภัส มหาสวัสดิ์ พบทั้งหมด 14 สกุล จำนวน 35 ชนิด ได้แก่ (1)
1. Aspericorvina jubata (จวด)
2. Boesemania microlepis (ม้า, จวดหางกิ่ว)
3. Chryssochir aureus (จวดเขี้ยว)
4. Dendrophysa russelli (จวดหน้าสั้น)
5. Johnius belengeri (จวด)
6. Johnius carutta (จวด)
7. Johnius dussumieri (จวดหน้ามอม)
8. Johnius melanobrachium (จวด)
9. Johnius osseus (จวด)
10. Johnius trachycephalus (ตรวด, จวดขาว)
11. Johnius (Johnieops) vogleri (จวด)
12. Johnius axillaris (จวด)
13. Johnius bengalerii (จวด)
14. Johnius cujus (จวด)
16. Johnius novaehallandae (จวด)
17. Otolithes ruber (จวดเขี้ยว)
18. Otolithes cuvieri (จวด)
19. Otolithoides (Otolithes) brunneus (แก้ว, จวดลาก)
20. Otolithoides (Otolithes) lateoides (จวด)
21. Otolithoides (Otolithes) maculatus (จวด)
22. Otolithoides (Otolithes) siamensis (จวด)
23. Panna microdon (จวดคอม้า,จวดยาว)
24. Pamna peramata (จวด)
25. Pennahia anea (จวดหางพัด,จวดครีบเทา)
26. Pseudosciaena axillaris (จวด)
27. Pseudosciaena (Johnius) (จวด)
28. Pseudosciaena birtwistlei (จวด)
29. Pseudosciaena bleekeri (จวด)
30. Pseudosciaena microlepis (จวด)
31. Pseudosciaena plagiostoma (จวด)
32. Pseudosciaena sina (จวด)
33. Nibea soldado (จวดเทา)
34. Pennahia macrophthalmus (จวดตาโต)
35. Sciaena macroptera (จวด)

ประโยชน์ปลาจวด
1. ปลาจวด มีลำตัวเรียวยาว เนื้อมีสีขาว ไม่มีก้างแทรก เนื้อมีรสหวาน และมัน นิยมทำแกง นึ่ง และทอด
2. ปลาจวด ใช้ทำเป็นปลาตากแห้งสำหรับใช้ทอดกรอบ

%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%88%e0%b8%a7%e0%b8%94%e0%b8%97%e0%b8%ad%e0%b8%94

ขอบคุณภาพจาก Pantip.com/, SiamFishing.com

เอกสารอ้างอิง
(1) ยนภัส มหาสวัสดิ์, 2553, นิเวศวิทยาการกินอาหารของปลาจวด (วงศ์ Sciaenidae)-
ในอ่าวปากพนังจังหวัดนครศรีธรรมราช, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.