นกเอี้ยง (Starlings)

43732
นกขุนทอง

นกเอี้ยง (Starlings) เป็นนกประจำถิ่นของประเทศไทย และพบได้ในประเทศเพื่อนบ้าน บางสายพันธุ์นิยมนำมาเลี้ยง เนื่องจากสามารถเลียนแบบเสียงพูดของคนได้ ได้แก่ นกขุนทอง และนกเอี้ยงหงอน โดยเฉพาะนกขุนทองที่สามารถเลียนแบบเสียง และพูดโต้ตอบคนได้ดีที่สุด ซึ่งปัจจุบันเป็นนกที่หายากมาก

Order : Passeriformes
Family : Sturnidae

การกระจายพันธุ์
สายพันธุ์นกเอี้ยงในทั่วโลกมีประมาณ 112 ชนิด พบมากในแถบทวีปเอเชีย และแอฟริกา ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบประมาณ 18 ชนิด ส่วนในประเทศไทยพบประมาณ 16 ชนิด จาก 18 ชนิด ที่พบในแถบนี้

ลักษณะทั่วไป
นก เอี้ยงเป็นนกขนาดกลาง มีจงอยปากตรง ยาวเล็กน้อยประมาณ 2 ซม. ขา และนิ้วมีขนาดใหญ่ แข็งแรง สีเหลือง สีน้ำตาลหรือสีดำ มีเท้าสำหรับเกาะ ประกอบด้วยนิ้วที่มีลักษณะตรงไปข้างหน้า 3 นิ้ว และ 1 นิ้ว ด้านหลัง ส่วนปีกมีลักษณะยาว มีขนปีก และสีขนลำตัวสีเทา สีน้ำตาล สีดำ แตกต่างกันตามสายพันธุ์ บางชนิดมีสีขาว สีเหลือง หรือสีแดงแต้ม และบางชนิดมีขนบนหัวเป็นจุก มีหนังย่นหรือเหนียงไม่มีขนบริเวณหัวหรือข้างแก้ม

การดำรงชีพ
นก เอี้ยงมักอยู่รวมกันเป็นฝูง มีอาหารหลักเป็นเมล็ดธัญพืช ผลไม้ และแมลงชนิดต่างๆ รวมถึงอาหารหรือเศษอาหารทุกชนิดที่มนุษย์กินได้ โดยชอบหาอาหารตามต้นไม้ ทุ่งนา รวมถึงตามบ้านเรือนของมนุษย์

ในระยะผสมพันธุ์จะจับคู่ ตัวผู้ตัวเมีย สร้างรังสำหรับวางไข่ตามต้นไม้ใหญ่ แบ่งรังเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. รังที่สร้างจากเศษใบไม้ กิ่งไม้ เป็นรังหุ้มแขวนตามกิ่งไม้บนต้นไม้ใหญ่
2. รังที่สร้างในโพรงไม้ ใช้เศษใบไม้ กิ่งไม้รองในรัง

การ วางไข่จะวางครั้งละ 3-5 ฟอง ไข่มีสีขาวแต้มด้วยจุดสีน้ำตาลหรือมีสีฟ้าทั้งฟอง แตกต่างกันในสายพันธุ์ ขนาดของไข่กว้างประมาณ 1.5 ซม. ยาวประมาณ 2ซม. ใช้เวลาในการฟักไข่ประมาณ 15 วัน หรือมากกว่าเล็กน้อย

พันธุ์นกเอี้ยงในประเทศไทย
1. นกเอี้ยงสาริกา (Acridotheres tristis)
2. นกเอี้ยงควาย (Acridotheres fuscus)
3. นกเอี้ัยงหงอน (Acridotheres javannicus)
4. นกเอี้ยงหัวสีทอง (Ampeliceps coronatus)
5. นกขุนทอง (Gracular religiosa)
6. นกเอี้ยงดำปักษ์ใต้ (Aplonis panayensis)
7. นกเอี้ยงพราหมณ์ (Sturnus pagodarum)
8. นกกิ้งโครงปีกลายจุด (Saloglossa spiloptera)
9. นกกิ้งโครงแกลบหัวเทา (Sturnus marabaricus)
10. นกกิ้งโครงแกลบปีกขาว (Sturnus sinensis)
11. นกกิ้งโครงแกลบหลังม่วงดำ (Sturnus sturninus)
12. นกกิ้งโครงพันธุ์ยุโรป (Sturnus vulgalis)
13. นกกิ้งโครงสีกุหลาบ (Sturnus roseus)
14. นกเอี้ยงด่าง (Sturnus contra)
15. นกกิ้งโครงคอดำ (Sturnus nigricollis)
16. นกกิ้งโครงหัวสีนวล (Sturnus burmannicus)

นกขุนทอง (Hill Myna/Gracular religiosa)
เป็นพันธุ์นกเอี้ยงที่มีเสียงแหลมต่ำ คล้ายเสียงคน และสามารถเลียนแบบเสียงคนได้ดีกว่านกทุกชนิด จึงนิยมจับมาเลี้ยงมากที่สุดเพื่อให้เลียนแบบพูดกับคน ปัจจุบันเป็นพันธุ์นกเอี้ยงที่หายากที่่สุด นกขุนทองเป็นนกที่มีลำตัวใหญ่ที่สุด ความยาวลำตัวประมาณ 13 นิ้ว ขนปีก และลำตัวมีสีดำเข้ม ปนเหลือบด้วยสีน้ำเงินแกม มีแถบขาวใต้ปีก มีจอยปากสีเหลืองปนแดง บริเวณท้ายดวงตามีแผ่นหนังสีเหลืองไม่มีขน พบได้ทั่วไปตามป่าดงดิบ และป่าเบญจพรรณ ในฤดูผสมพันธุ์ชอบทำรังในโพรงไม้สูง ทั้งต้นไม้ที่ยืนต้นตายหรือต้นไม้ที่มีชีวิต หลังฤดูผสมพันธุ์ชอบอาศัยรวมกันเป็นฝูง

นกขุนทอง
นกขุนทอง

นกเอี้ยงหงอน (White-venteg Myna-Acridotheres tristis)
เป็นนกเอี้ยงที่นิยมเลี้ยงรองลงมาจากนกขุนทอง เพราะสามารถฝึกให้เลียนแบบเสียงคนได้ ไม่แพ้นกขุนทอง และมีสีลำตัว สีปีกที่ดำเข้มเหมือนกัน แต่จะไม่มีแผ่นหนังสีเหลืองข้างตาเหมือนนกขุนทองเท่านั้น มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 9 นิ้ว บริเวณหน้าผากมีขนยาวแน่นรวมกันเป็นจุก มีแถบสีขาวทีปีก และบริเวณปลายหาง ขามีขนาดใหญ่สีเหลือง ตัวผู้ และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน ชอบทำรังบนกิ่งไม้หรือตามโพรงไม้ บางครั้งพบหากินในแถบชุมชน

นกเอี้ยงหงอน
นกเอี้ยงหงอน

นกเอี้ยงสาริกา (Common Myna/Acridotheres tristis)
เป็นนกเอี้ยงที่นิยมเลี้ยงรองลงมาจากนกเอี้ยงหงอน เพราะสามารถฝึกให้เลียนแบบเสียงคนได้ แต่จะด้อยกว่านกขุนทอง และนกเอี้ยงหงอน รวมถึงมีสีลำตัวสวยงามไม่เท่า มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 9 นิ้ว หัวมีสีดำ มีจงอยปากสีเหลือง บริเวณตามีแถบหนังสีเหลืองรอบตา ลำตัว และขนปีกมีสีน้ำตาลเข้ม แกมด้วยแถบสีขาวทีปีก และบริเวณปลายหาง ตัวผู้ และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน ชอบทำรังบนกิ่งไม้หรือตามโพรงไม้ รวมถึงมีนิสัยชอบหากินในแถบชุมชนที่มีคนอาศัยอยู่ จึงเป็นนกเอี้ยงที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดในบรรดาพันธุ์นกเอี้ยงทั้งหมด

นกเอี้ยงสาริกา

นกกิ้งโครงคอดำ (Black collared starling/Sturnus nigricollis)
เป็นนกเอี้ยงที่มีลำตัวขนาดใหญ่ ลำตัวยาวประมาณ 11 นิ้ว ขนด้านหลัง และขนหางมีสีน้ำตาล ขนหัว และขนท้องมีสีขาว ขนรอบคอมีสีดำ ปลายขนหาง และปลายปีกมีสีขาว มีแผ่หนังสีเหลืองรอบดวงตา จงอยปากสีเหลืองปนดำ

นกกิ้งโครงคอดำ

นกกิ้งโครงหัวสีนวล (Vinous breasted starling/Sturnus burmannicus)
ลำตัวยาวประมาณ 9 นิ้ว ขนด้านหลังมีสีน้ำตาลเข้ม ขนท้องมีสีน้ำตาลอ่อน ขนหัวมีสีน้ำตาลอ่อนเกือบขาวหรือสีครีม ปลายขนหาง และปลายปีกมีสีขาว มีแผ่นหนังสีดำรอบดวงตา จงอยปากสีเหลืองปนส้ม ขา และนิ้วมีสีเหลือง

นกกิ้งโครงหัวสีนวล
นกกิ้งโครงหัวสีนวล