นกยูง (Peacock/Peafowl)

12309

นกยูง (Peacock/Peafowl) จัดเป็นสัตว์ป่าที่อยู่ในวงศ์ไก่ฟ้า คุ้มครองตาม พรบ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และจัดเป็นสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ ทั้งนี้ กฎหมายอนุญาตให้เพาะพันธุ์เพื่อการค้าได้ เนื่องจากขนลำตัว และหางมีสีสันสวยงาม และเป็นสัตว์ที่หายาก และเพาะพันธุ์ได้ยาก จึงทำให้มีราคาสูงมากในปัจจุบัน

อนุกรมวิธาน
Order : Galliformis
Family : Phasianidae
Genus : Pavo

นกยูงที่พบในโลกมีทั้งหมด 2 ชนิด คือ
1. นกยูงอินเดีย (Pavo cristatus Linnaeus)
2. นกยูงไทย (Pavo muticus Linnaeus) แบ่งเป็นชนิดย่อย (Species) ได้แก่
– P.m muticus Linnaeus
– P.m imperator Delacous
– P.m spicifer Shaw & Nodder

Peacock

สำหรับนกยูงไทยที่พบมี 2 สายพันธุ์ คือ นกยูงไทยสายพันธุ์ชวา (Pavo muticus muticus) และนกยูงไทยสายพันธุ์อินโดจีน (Pavo muticus imperator)

ลักษณะทั่วไป
นกยูงไทย เป็นนกยูงที่มีลำตัวขนาดใหญ่ เพศผู้ และเพศเมียมีขนหงอนยาวเป็นเส้นขน ปลายชี้ขึ้นรวมเป็นกลุ่มสีเหลือบขาว

นกยูงไทยสายพันธุ์ชวา (Pavo muticus muticus)
เพศผู้มีแผ่นหนังเกลี้ยงบริเวณใบหน้า ตรงส่วนรอบดวงตาสีนํ้าเงินอ่อน และจากโคนจะงอยปากถึงหูมีสีเหลืองแถบขนที่คาดจากโคนปากผ่านดวงตาสีนํ้าเงิน ดำ ม่านตาสีนํ้าตาล ขนบริเวณส่วนบนของปากขนคอด้านหน้า และรอบคอส่วนบนสุดลักษณะสั้น สีเหลือบนํ้าเงินเขียว ส่วนหน้าผากจะออกสีเขียวมากกว่าส่วนอื่นๆ ซึ่งออกสีนํ้าเงิน ขนรอบคอ หลังส่วนบน และหน้าอก ลักษณะปลายกว้างกลม ซึ่งตรงกลางเส้นขนสีนํ้าเงินเข้มแล้วค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีเขียว ขอบขนเป็นแนวกว้างสีทองแดง และถัดออกมาเป็นแนวแคบสีเขียว ส่วนปลายสีเขียวและสีดำ สดใส มองรวม ๆ มีลักษณะซ้อนกันคล้ายกับ เกล็ดปลา ขนหลังส่วนที่เหลือสีเขียวเหลือบสีทองแดง ตรงกลางเป็นขีดสีนํ้าเงินล้อมด้วยรูปตัววี (V-shaped) สีนํ้าตาล ปลายขนสีดำ ขนหางสีนํ้าตาลเกือบดำ แต่ละเส้นมีลายขวางเป็นระยะ ๆ สีนํ้าตาลออกเหลืองจนถึงปลายสุด ขนคลุมปีกสีนํ้าเงินเหลือบเขียวสดใส ขนปีกบินชุดโคนปีก (tertiary) สีนํ้าตาลดำ มีลายประตามขวาง สีนํ้าตาลออกเหลืองขอบสีนํ้าเงิน และเขียว ขนปีกบินชุดตัวปีก (secondary) เส้นขนแถบใน (inner web) สีนํ้าตาลดำ ส่วนแถบนอก (outer web) สีนํ้าเงินเข้มเหลือบขาว ชนิดปีกบินชุดปลายปีก (primary) สีนํ้าตาลอมแดง ขนใต้ท้อง และขนสีข้างออกสีเขียวเข้ม จนถึงบริเวณช่องทวาร และขนคลุมด้านล่างสีเทาหม่น ต้นขาสีดำ ลายนํ้าตาล จะงอยปากและขาสีนํ้าตาลดำ

เพศเมียมีลักษณะคล้ายกับเพศผู้ แต่สีไม่สดใสเท่าเพศผู้ ขอบเส้นขนของลำคอ และหน้าอกประ
สีนํ้าตาลหม่น ขนบนหลัง และขนคลุมปีกด้านในสีดำ ลายขวาง สีนํ้าตาลออกเหลืองขอบสีเขียว
ขนคลุมหางชั้นบนสีเขียวออกสีทองมีลายแถบประๆ เป็นเส้นขวาง สีนํ้าตาลอ่อน และสีดำ ขนคลุม
หางในเพศเมียยาวเกือบเท่ากับขนหาง ขนปีกบินชุดปลายปีกสีนํ้าตาลอมแดงมีลายประสีดำ ตรงส่วนปลาย และบริเวณเส้นขนแถบของก้านขน ขนหางสีดำ มีลายตามขวางสีนํ้าตาล แถบขนที่คาดจากโคนปากผ่านดวงตาสีนํ้าตาลแดง หนังเกลี้ยงบริเวณใบหน้าคล้ายเพศผู้แต่สีอ่อนกว่า ส่วนใหญ่เห็นเดือยได้ชัดเจน แม้ว่าจะเป็นเพศเมียก็ตาม และเพศเมียไม่มีเดือย

นกยูงไทยสายพันธุ์อินโดจีน (Pavo muticus imperator)
ลักษณะโดยทั่วไปจะคล้า้ยกับสายพันธุ์ชวา แต่สีสันไม่สดใสน้อยกว่า และขอบของขนรอบลำคอหลังส่วนบน และหน้าอกส่วนบนจะออกสีทองแดงมากกว่าหน้าอกส่วนล่าง และขนสีข้างสีจะหม่นและดำกว่า ขนส่วนหลังออกสีนํ้าเงินมากกว่า และเหลือบสีทองน้อยกว่า ขนคลุมปีก และแถบขนด้านในของขนปีกบินชุดตัวปีกสีนํ้าเงินกว่า และขอบขนแต่ละเส้นมีสีเหลือบเขียวน้อยว่า สำหรับเพศเมียแตกต่างจากสายพันธุ์ชวา คือ ขอบขนบริเวณหน้าอกแต่ละเส้นประสีนํ้าตาลอ่อนกว่า และสีขนมีสีเขียวอ่อน ขนคลุมปีกมีความสดใสน้อยกว่า

นกยูงเพศผู้มีขนคลุมหาง ส่วนบนยาวปิดขนหาง ส่วนปลายของขนคลุมหางดังกล่าว มีลายเป็นดวงสวยงามมาก ฉัตรชัย (2531) บรรยายลักษณะของขนคลุมหางนกยูงว่า ขนสีเขียวเหลือบ
ทอง และเหลือบสีม่วงบรอนซ์ในขณะเดียวกัน ส่วนปลายของขนคลุมหางแต่ละเส้นเป็นแถบสีซ้อนกันเป็นวงๆ ที่เรียกกันว่า “แววมยุรา” โดยตรงกลางสุดสีนํ้าเงินเข้ม วงรอบถัดมาสีเขียวมรกตเป็นประกายสดใส และถัดออกมาอีกเป็นวงกว้างสีนํ้าตาลบรอนซ์ และมีแถบเล็ก ๆ เป็นวงถัดออกมาอีก 2 วง คือ วงสีเขียวเหลือบทอง และวงสีม่วงบรอนซ์แต่ที่ปลายขนคลุมหางที่อยู่ชั้นนอกสุดซึ่งยาวที่สุดจะไม่มีแววมยุราเหล่านี้

นกยูงไทยเพศผู้โตเต็มวัย มีความยาวปีก 460-540 มิลลิเมตร ความยาวของจะงอยปาก 42-
45 มิลลิเมตร ความยาวแข้ง 160-170 มิลลิเมตร ความยาวหาง 400-475 มิลลิเมตร เพศเมียความยาวของจะงอยปาก 40-43 มิลลิเมตร ความยาวแข้ง 135-145 มิลลิเมตร ความยาวหาง 400-450 มิลลิเมตร ส่วนน้ำหนักเพศผู้โ้ตเต็มวัยเฉลี่ยประมาณ 5,290 กรัม และเพศเมียโตเต็มวัยมีนํ้าหนักเฉลี่ยประมาณ 4,080 กรัม (สมพงค์, 2538)

แหล่งที่พบในธรรมชาติ
สำหรับประเทศไทยพบเพียงนกยูงสายพันธุ์นกยูงไทย (Green Peafowl ; Pavo
muticus) โดยแบ่งออกเป็น 2 ชนิดพันธุ์ย่อย ได้แ้ก่
1. นกยูงไทยสายพันธุ์ชวา (Pavo muticus muticus) มีถิ่นกำเนิดที่ชวา และมาเลเซีย พบบริเวณใต้คอคอดลงไปจนถึงใต้สุดประเทศไทย

2. นกยูงไทยสายพันธุ์อินโดจีน (Pavo muticus imperator) พบบริเวณเหนือคอคอดขึ้นมา มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศจีนในมณฑลยูนาน พบในประเทศลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่าด้านตะวันออก โดยมีการกระจายพันธุ์ไปถึงด้านตะวันตก บริเวณสันปันนํ้าระหว่างแม่นํ้าสาละวิน และอิระวดี (Delacour, 1984(2); Johnsgard, 1986(3))

ในทุ่งหญ้า้สะวันนา นกยูงเพศผู้จะอยู่เ่พียงลำพัง ในขณะที่เพศเมียจะอยูเ่ป็นกลุ่ม 2-9 ตัว ส่วนมากตัวลูกๆ นกยูงจะอยู่รวมกับฝูง ตัวเมียโตเต็มวัย นกยูงออกหาอาหารระหว่าง 4.30 น. ถึง 18.00 น. พบว่า นกยูงหาอาหารในทุ่งหญ้า เช่น หญ้า Sclerachne punctata ประมาณ 6.00 น
อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ถึง 16.30 น. ที่อุณหภูมิ 29 องศาเซลเซียส นกยูงจะหลบอยู่ใต้ร่มไม้ที่นกยูงหากิน เช่น ใต้ต้น Leucaena leucocephala, Azima samentosa, Ficus superba, Tamarinda indica, Ziziphus jujuba พบว่า่ นกยูงรวมกลุ่มหากินร่วมกับกวาง หมูป่า กวางป่า่ วัวแดง แตไ่ม่ยอมอยู่รวมฝูงกับนกยูงป่าตัวอื่น และพวกนกด้วยกัน

นกยูงไทยอาศัยอยู่ในป่าที่มีพื้นที่แตกต่างกันหลายแบบ โดยทั่วไปสามารถพบได้ตามบริเวณตามฝั่งแม่น้ำสายใหญ่ๆ ในป่า่ หรือตามชายป่า่ที่ติดต่อกับเชิงเขา (Johnsgard, 1986) รายงานว่า
นกยูงอาศัยอยู่ในป่าบริเวณเชิงเขาใกล้แหล่งนํ้า นอกจากนั้น ยังพบนกยูงในป่าทึบบริเวณทางภาคใต้ของประเทศไทยการกระจายประชากรของนกยูงใน ป่าต่าง ๆ แตกต่างกันตามสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์

จากการศึกษาการเลือกใช้พื้นที่อยู่อาศัยของนกยูงสีเขียวในเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ซึ่งเป็นนกยูงสายพันธุ์อินโดจีน (Pavo muticus imperator) พบว่านกยูงอาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ราบในป่าเบญจพรรณ ตลอดแนวลำ นํ้าลุ่มนํ้าขาแข้งตามพื้นที่โล่งๆ ตามป่าโปร่งริมนํ้า บริเวณหาดทรายกับสันดอนทรายกลางแม่นํ้า และหลีกเลี่ยงการเข้าไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่รกทึบของป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้ง ซึ่งแตกต่างจากนกยูงสีเขียวสายพันธุ์ชวา (Pavo muticus muticus) ที่อาศัยอยู่ในป่าทึบใกล้แหล่งนํ้า (Grzimek, 1972)

ปัจจุบันเนื่อง จากการทำลายสภาพแวดล้อมต่างๆ ทำ ให้นกยูงไทยสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย ประกอบกับถูกล่าเพื่อเอาขน และการดักจับลูกนกเพื่อนำมาเลี้ยง ทำให้ประชากรของนกยูงไทยมีจำนวนลดน้อยลง และหมดไปจากพื้นที่หลายแห่ง บริเวณที่มีหลักฐานยืนยัน และเชื่อถือได้ว่า มีนกยูงไทยในปัจจุบัน ได้แก่ บริเวณแนวป่าริมลำ นํ้าสาละวิน ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวิน
จังหวัดแม่ฮ่องสอน บริเวณลำนํ้าแม่จัน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร อำเภออุ้มผาง
จังหวัดตาก (นริศ และอุทิศ, 2526)

จากการสำรวจประชากรนกยูงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ในปี 2535 พบนกยูงอาศัยอยู่มากตามบริเวณลำห้วยต่างๆ จำนวน 256 ตัว (ศักดิ์สิทธิ์ และคณะ, 2538)(1)

ในประเทศอื่น ๆ เช่น มาเลเซีย ปกติพบนกยูงไทยตามชายป่าบริเวณพื้นที่ใกล้กับหมู่บ้านชนบท และหลายครั้งที่พบในบริเวณพื้นที่เกษตรกรรม ตั้งแต่พื้นราบถึงระดับความสูง 1,200 เมตรจากระดับนํ้าทะเล ส่วนประเทศพม่าพบตั้งแต่ระดับพื้นราบถึงระดับความสูงประมาณ 1,000 เมตร และประเทศจีนทางใต้พบตั้งแต่พื้นที่ราบถึงระดับความสูงประมาณ 1,400 เมตรจากระดับนํ้าทะเล (Bain and Humphery, 1980)

การสืบพันธุ์
นกยูงไทยจัดเป็นนกขนาดใหญที่มีสีสันสวยงาม เพศผู้ แ้ละเพศเมียมีสีขนแตกตา่งกัน แต่ทั้งสองเพศสีขนเหลือบเป็นเงางาม โดยทั่วไปนกยูงจะหากินรวมกันเปน็ ฝูงขนาดเล็ก ยกเวน้ เพศผูที้่โตเต็มวัย ซึ่งพบตามลำพัง และบางครั้งก็จะเข้าไปหากินรวมกับฝูงตัวเมีย

นกยูงจะหากินตามหาดทราย และตามพงริมนํ้าหรือที่โล่งกลางแจ้ง พฤติกรรมนี้จะสลับกับการไปหลบพักผ่อนในบริเวณป่า บางครั้งก็จะแวะเข้าไปหากินในโป่ง บริเวณที่นกยูงใช้เป็นแหล่งอาหารในแต่ละวันจะแตกต่างกัน ไม่เป็นแบบแผนลำดับว่าจะเข้าไปใช้พื้นที่ประเภทใดก่อนหรือหลังขึ้นกับการหลบ หลีกศัตรู และโอกาสที่ผ่านไปพบ

นกยูงจะพักผ่อนสลับกับการออกไปหา อาหารกินเรื่อยๆ เกือบตลอดวัน บางครั้งเมื่อไปพบกับฝูงอื่น ๆ ก็จะเข้าไปหากินร่วมกันเป็นฝูงใหญ่ แต่สุดท้ายก็จะแยกย้าย และติดตามฝูงเดิมของตนเองไป อาหารของนกยูง ได้แก่ ใบ และเมล็ดของหญ้าชนิดต่างๆ ใบไม้ และยอดไม้อ่อน ๆ ใบ และขุยไผ่ ผลไม้ต่างๆ ที่ร่วงหล่นพื้น แมลงชนิดต่าง ๆ และสัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบก เป็นต้น นอกจากนี้นกยูงยังเข้าไปหากินตามโป่งเป็นครั้งคราว

นอกจากนั้น ยังพบว่า ฝนช่วยกระตุ้นให้นกยูงตื่นตัวเพิ่มขึ้นโดยสังเกตจากเสียงร้องที่ดังขึ้น
กว่าช่วงเวลาที่ไม่มีฝน หรือในวันที่อากาศร้อน

ฤดูผสมพันธุ์ของนกยูงผันแปรแตกต่างกันในแต่ละประเทศ สำหรับในประเทศไทยนกยูงไทยในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง พบว่า ฤดูผสมพันธุ์อยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนเมษายน ในประเทศพม่า นกยูงส่วนใหญ่วางไข่ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม แต่บางครั้งก็พบว่าวางไข่ไปจนถึงเดือนกันยายน ส่วนใหญ่นกยูงในประเทศพม่า ฤดูผสมพันธุ ์คือ ช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน แต่ระหวา่งเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน ก็เคยมีการรายงานเช่นกัน (ประทีปและคณะ, 2528)

ในการจับคู่ผสมพันธุ์ นกยูงเพศผู้ส่งเสียงร้องเรียกเพศเมีย ด้วยเสียงที่ดัง และมีความเฉพาะตัว
สามารถเรียกมาเป็นฝูง แต่สุดท้ายก็เลือกจับคู่เพียงเฉพาะเพศเมียตัวเดียวเพียงเท่านั้น

การเกี้ยวพาราสี และการผสมพันธุ์ของนกยูงไทยในธรรมชาติ ประทีปและคณะ (2528) รายงานว่า เมื่อฝูงนกยูงเพศเมียผ่านเข้ามาในดินแดนของตน นกเพศผู้ก็เข้าไปร่วมหากินอาหารด้วย ช่วงเวลาถัดไปเริ่มแสดงการเกี้ยวโดยการรำ แพนหางเรียกความสนใจ

ขั้นตอนการเกี้ยว เริ่มโดยการยกแพนขนปิดหางขึ้นพร้อมกับคลี่อออกจนเป็นรูปพัด กางปีกทั้งสองข้างออกพยุงลำตัว ชูคอขึ้นสูงเล็กน้อย ยํ่าเท้ากับพื้นเบาๆ แล้วจึงลู่แพนหางเปลี่ยนทิศทางได้อย่างรวดเร็ว และหมุนตัวกลับหันแพนหางดา้นหลังให้กับนกเพศเมีย การสั่นหาง และการหันส่วนต่า่งๆ ทำสลับเปลี่ยนไปมาอยู่ตลอดเวลา นกยูงเพศเมียซึ่งพร้อมผสมพันธุ์ก็เดินเข้าไปใกล้ และจิกขนของเพศผู้ตามบริเวณต่างๆ เมื่อเพศเมียเดินไปข้างหน้า และย่อตัวลง เพศผู้จึงลดแพนหางลงแล้วผสมพันธุ์ทันทีในการเกี้ยวพาราสีบางครั้งก็ไม่เกิด ผล เนื่องจากฝูงนกยูงเพศเมียไม่ได้ให้ความสนใจ และเดินผ่านพ้นเขตครอบครองไปสู่เขตครอบครองของเพศผู้ตั้วอื่น ซึ่งขณะนั้นนกยูงเพศผูที้่มีเขตครอบครองขา้งเคียงได้รำแพนคอยอยู่แล้ว

Peacock2

การสร้างรังวางไข่ส่วนใหญ่สร้างอยู่บนพื้น ปกติอยู่ในแหล่งที่ปลอดภัย จากศัตรูต่าง ๆหรือสามารถมองเห็นศัตรูก่อน ตามปกติในธรรมชาติวางไข่ครั้งละ 1-6 ฟอง แต่ในกรงเลี้ยงพบว่า
สามารถวางไข่ได้ถึงครั้งละ 8 ฟอง เปลือกไข่มีสีนํ้าตาลแกมเหลือง บางครั้งมีลายประสีนํ้าตาลเข้มหรือสีนํ้าตาลแดง ขนาดไข่เฉลี่ยกว้าง 53.7 มิลลิเมตร ยาว 72.7 มิลลิเมตร นํ้าหนักไข่ประมาณ 114.9 กรัม โดยมีนกยูงเพศเมียเท่านั้นที่ทำหน้าที่กกไข่ โดยใช้ระยะฟักไข่ 26-28 วัน

นกยูงไทยเพศเมียในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งจะวางไข่ในบริเวณป่า และพบว่าวาง
ไข่บนเกาะกลางลำนํ้าด้วย โดยเริ่มวางไข่ และฟักไข่ตั้งแต่เดือนธันวาคมจนถึงเดือนมีนาคม ซึ่งในช่วงนี้จะพบนกเพศเมียแยกออกจากฝูงไปหากินตามลำพัง และรีบเข้าไปกกไข่ต่อ ลูกนกยูงจะเริ่มปรากฏให้เห็นตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นไป บางครั้งพบนกยูงเพศเมียพาลูกๆ ออกหากินร่วมกันตามหาดทรายและที่ราบริมนํ้า ลูกนกมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและสามารถบินขึ้นสู่ที่สูงได้ ตั้งแต่ยังมีขนาดลำ ตัวเท่านกกระทา (ประทีปและคณะ, 2528)

ลูกนกยูง เมื่อมีอายุ 2 สัปดาห์ จะสามารถแยกเพศได้ และสามารถบินได้สูงขนาดบินไปเกาะบนหลังคาบ้านหลังเล็ก ๆพออายุ 3 สัปดาห์ ขนหงอนจะปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจน อายุ 4 สัปดาห์ ขนคลุมตัวซึ่งเป็นขนนก (feathers) เริ่มปรากฏให้เห็นแล้ว และมีขนดังกล่าวเต็มตัวเมื่ออายุ 6 สัปดาห์ เริ่มแสดงลักษณะขนสีเหลือบแสงบริเวณส่วนหลังและด้านข้างของลำ คอ เมื่ออายุ 10 สัปดาห์ ส่วนการรำ แพนเริ่มแสดงออกเมื่ออายุ 6 สัปดาห์ และลูกนกยูงโตเต็มวัยเมื่อมีอายุ 3 ปี (Johnsgard, 1986)(3)

อาหารนกยูง
นกยูงไทยเป็นนกที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์ ได้แก่ เมล็ดหญ้า เมล็ดของไม้ต้น ธัญพืช ผลไม้สุกที่หล่นจากต้น ยอดอ่อนของหญ้า แมลง ตัวหนอน ไส้เดือน งู และสัตว์ขนาดเล็ก คุ้ยเขี่ยหากินตามพื้นดินเช่นเดียวกันกับไก่ฟ้า และไก่ป่า (โอภาส, 2541)()

เอกสารอ้างอิง
1. ศักดิ์สิทธิ์ ซิ้มเจริญ, บุญชู ธงนำชัยมา, รองลาภ สุขมาสรวง, ประทีป ทัพมงคล, มณฑล หนูทอง, ฉัตรอำพล สุนทราณู, ยงยุทธ มีแสงแพรว, วรพจน์ ทองอุปการ และพรเทพ สิงห์คราม, 2538. ประชากร และขอบเขตการกระจายพันธุ์ของนกยูงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง. วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย.
2. Delacour, J., 1984. The pheasants of the world. Pheasant Association and Spur Publications.
3. Johnsgard, P.A., 1986. The pheasants of the world. Oxford University Press. Great Britain.