นกเขาชวา และการเลี้ยงนกเขาชวา

33982

นกเขาชวา เป็นนกที่นิยมเลี้ยงประเภทหนึ่ง เพื่อความสวยงาม และฟังเสียงที่ไพเราะ รวมถึงการเลี้ยงเพื่อแข่งขันเสียง ทั้งในประเทศไทย และประเทศใกล้เคียง เช่น มาเลเชีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และบรูไน ทำให้เกิดอาชีพจากการเลี้ยงนกเขาชวาตามมา อาทิ การผลิตอาหารนก การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ขาย การทำกรงนก และนานหน้าหรือพ่อค้านก

นกเขาชวา หรือ นกเขาเล็ก ชื่ออังกฤษ Zebra Dove อยู่ในสกุล Geopelia Striata ในสกุล Columbidac มีลักษณะขนสีเทา แกมดำ หางยาวประมาณ 8-9 เซนติเมตร

ประวัตินกเขาชวา
นกเขาชวา มีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน เช่น แต่เดิมในทุกภาคเรียกว่า นกเขาเล็ก ชาวชวา เรียกว่า “ปุรงปะระกูตด” ชาวมลายูเหนือ เรียก “บุรงตีเต้” ชาวมลายูกลาง และสิงคโปร์ เรียก “มะระบก” ส่วนคำว่า นกเขาชะวา มีการสันนิษฐานที่มาของชื่อในหลายด้าน ได้แก่
1. เป็นนกเขาที่พบมากในชวา ประเทศอินโดเนียเชีย และนิยมเลี้ยงมากในแถบนั้นจนมีการเลี้ยงแพร่เข้ามาในประเทศไทย
2. เสียงขันของนกเขาชนิดนี้มีเสียงไพเราะ ดังกังวาล คล้ายเสียงปี่ชวา
3. การเลี้ยงนกเขาชวาในประเทศไทย เริ่มแรกถูกนำมาเลี้ยงโดยชาวชวา

การเลี้ยงนกเขาชวาในประเทศไทย นิยมเลี้ยงมาตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตามหลักฐานพระราชตำรับดูลักษณะนกเขาชวา รัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4 ปัจจุบันมีผู้นิยมเลี้ยง และเล่นนกเขาชวากันมากในภาคใต้ รองลงมา ได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคอื่นๆ

chawa

 

 

chawa2

 

DTHN0057 Zebra Dove 2012

ลักษณะนกเขาชวาที่ไม่นิยมเลี้ยง
1. มีสร้อยรอบคอ
2. ขนที่คอดำ เป็นจุดอยู่บริเวณลำคอ
3. ปากงอโค้งเหมือนงาช้าง
4. เวลาคูจะยกปีกทั้งสองข้างเสมอ
5. สีปีกเด่นกว่าสีลำตัว
6. มีรูปพระภควัมอยู่เหนือเศียร
7. หัวปีกมีนะทั้งซ้ายขวา
8. มีสร้อยคอจดโคนหาง
9. ที่หลังนกเป็นตัวธะ
10. ปลายหางเป็นตัวยะ ปกหางกลางเส้นเดียว
11. ขันเสียงกวักๆ
12. เวลาขันหางกระดกลงทุกคำ เวลาคูก็เอาหางลง ไม่ใช่ยกหางขึ้นเหมือนนกทั้งหลาย

ลักษณะนกเขาชวาที่ไม่นิยมเลี้ยง
1. มีขนลายทั่วตัว เหมือนนกกระจอกหรือมีขนที่สันหลัง
2. มีเท้าเหมือนเป็ด
3. มีขาสองข้างยาวไม่เท่ากัน
4. มีขนลายทั้งตัวเหมือนนกพิราบ
5. มีลักษณะไม่สมประกอบ เช่น ตาข้างใดข้างหนึ่งบอด
6. มีหางตกลากระพื้น

วิธีการจับนกเขาชวา
1. การจับจากป่า
เป็นวิธีการได้มาของนกเขา โดยเฉพาะในสมัยก่อนที่เริ่มเลี้ยงแรกๆ ที่มักหาพ่อแม่พันธุ์นกเขาด้วยวิธีการเข้าจับในป่าหรือตามแหล่งต่างๆที่นกเขาชวาอาศัยอยู่ ด้วยการใช้กรงล่อนกเขาที่ขังนกเขาตัวเมียหรือตัวผู้ไว้สำหรับล่อให้นกอีกเพศเข้ามาติดในกรง วิธีการนี้ในปัจจุบันก็ยังใช้อยู่สำหรับแสวงหาพันธุ์นกเขาที่มีเสียงไพเราะ
2.  การผสมพันธุ์จากกรงเลี้ยง
วิธีการได้มาของนกเขาชวาด้วยการผสมพันธุ์นกเขาในกรงขังจากพ่อแม่พันธุ์ที่มีอยู่แล้ว เพื่อให้ได้ลูกที่มีลักษณะเด่นตามพ่อแม่พันธุ์ที่ต้องกงาร

การผสมพันธุ์นกเขาชวา
พ่อพันธุ์ และแม่พันธุ์นกเขาชวาที่ใช้ผสมพันธุ์ ควรเป็นนกเขาที่มีเสียงดี หรือเคยเป็นนกเขาที่ชนะการแข่งขันเสียงมาแล้ว การผสมพันธุ์นกเขาชวามีหลักการดังนี้
1. ก่อนที่จะปล่อยขังนกเขาชวาใส่กรงเดียวกัน ต้องทดลองเปรียบคู่ก่อน โดยนำนกเขาชวาทั้งสองเพศมาใส่กรงเทียบติดกัน หากกลางคืน นกเขาชวาทั้งตัวเมีย และตัวผู้นอนเกาะคอนใกล้กัน แสดงว่านกเขาชวาทั้งสองเข้ากันได้ และเริ่มรับรักกันแล้วก็สามารถจับมาใส่ในกรงผสมพันธุ์ได้
2. นกที่ยังไม่ยอมนอนใกล้กัน ให้ปล่อยกรงเทียบไว้ต่อไปอีก 2 – 3 สัปดาห์ หรืออาจจะนานกว่านั้น จนกว่านกเขาชวากจะยอมรับรักกัน แล้วจึงปล่อยลงในกรงผสม
3. แต่นกเขาชวาตัวผู้ และตัวเมียที่ไม่ยอมรับรักกัน เมื่ออยู่ในกรงเดียวกันจะไล่จิกตีกัน หากเป็นเช่นนี้ ให้จับนกเขาชวาแยกขังคนละกรง โดยทั่วไปจะขังไว้ประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับความบอบช้ำของนกที่ถูกตี
4. บางครั้ง นกเขาชวาบางคู่ไม่ยอมรักกัน แม้จะเทียบคู่นานเพียงใดก็ตาม วิธีแก้ไข คือ ต้องเปลี่ยนคู่ผสมให้ใหม่ บางคู่ต้องใช้เวลานานถึง 6 – 7 เดือน ถึงจะยอมรับรักกัน แต่ก็มีบางคู่อาจใช้เวลาเพียง 2 – 3 วัน
5. นกเขาชวาเพศเมียที่เคยผ่านการผสมพันธุ์มาแล้ว มักจะไม่ค่อยมีปัญหา เพราะนกเขาชวาเพศเมียมักจะไม่กลัว และนกเขาชวาเพศผู้ก็ไม่กล้าทำร้าย
6. นกเขาชวาตัวผู้ และตัวเมียที่เคยผสมพันธุ์หลายครั้ง เมื่อผสมพันธุ์กันมักทำให้เป็นไข่ลม ไม่มีเชื้อ หรือถ้าฟักเป็นตัวก็มักเป็นลูกนกที่ไม่แข็งแรง และมีเสียงขันไม่ดี จึงต้องปลดระวาง
7. นกเขาชวาที่กำลังครองแชมป์เสียงอยู่ ก็ไม่นิยมนำมาผสมพันธุ์ เพราะจะทำให้กำลังตก และเสียงขันก็ไม่ไพเราะเหมือนเดิม แต่ไม่เสมอไป เพราะนกบางตัวที่ผสมพันธุ์มาแล้ว 2 – 3 ชุด ก็ยังนำมาแข่งได้โดยที่เสียงไม่ตก
8. กรงผสมพันธุ์ ควรมีรังไว้ประมาณ 1-2 รัง/กรง เพื่อให้นกเขาชวาวางไข่ อาการเมื่อใกล้วางไข่จะสังเกตได้จาก ตัวผู้นอนริมกรง ส่วนตัวเมียนอนในรัง เมื่อไข่จนครบ ปกติจะออกไข่ 1-3 ฟองเท่านั้น และแม่นกเข้ากกไข่ ลูกนกเขาชวาก็จะออกจากไข่ ประมาณ 14 – 15 วัน แต่ถ้ามีบางฟองที่ฟักนานกว่านี้ มักจะเป็นไข่ลม ไม่มีเชื้อ แต่ให้แน่ชัด ให้นำไข่ไปส่องกับแสงแดดหรือหลอดไฟ ถ้าเป็นไข่ลมจะไม่มีจุดสีแดง (มัลลิกา คณานุรักษ์, 2549)(1)

ขนาดของเสียงนกเขาชวา
1. นกเสียงใหญ่มีราคาแพงกว่านกเสียงกลาง และเสียงกลางราคาแพงกว่าเสียงเล็ก
2. นกที่ขันจังหวะช้ามีราคาแพงกว่านกที่ขันจังหวะเร็ว และขันจังหวะธรรมดา
3. นกที่ขันเสียงท้ายก้องดังมีแพงดีกว่าท้ายก้องน้อย เสียงขันท้ายยาวมีราคาแพงกว่าเสียงท้ายสั้น เสียงหน้ายาวมีราคาแพงกว่าเสียงหน้าสั้น
4. นกที่ขัน 5 จังหวะ นิยมมากกว่า 4 จังหวะ และ 3 จังหวะ

ที่มา : สุพัตรา อินทรคีรี, 2552.(2)

chawa1

เอกสารอ้างอิง
1. มัลลิกา คณานุรักษ์, 2549. นกเขาชวา นกกรงหัวจุก.
2. สุพัตรา อินทรคีรี, 2552. การกำหนดยุทธศาสตร์ด้านการตลาดการเลี้ยงนกเขาชวา กรณีศึกษา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา.